หน้าเว็บ

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คู่มือการดำรงชีวิตอยู่(ของคนไทย) ยุคโจรครองเมือง

ทุกวันนี้เราเหมือนกับว่า จะมองหาและรอคอยการกลับไปเป็นสังคมไทยแบบเดิม ทีมีแต่รอยยิ้มให้แก่กัน สามัคคีกลมเกลียวกัน ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายกัน การเมืองน้ำดี สังคมน่าอยู่ ไม่ต้องเรียกร้องหาแล้วครับ ซึ่งประตูนี้ผมคิดน่าจะปิดสนิทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (แนะนำให้อ่านบทความความเก่า ๆ ของผม แล้วจะเข้าใจว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น) ดังนั้นขอให้ทุกท่านตื่นจากหลับฝันเข้าสู่โหมดของโลกแห่งความจริงได้แล้วครับ เพราะทุกวันนี้เราจำทนมีชีวิตอยู่กันไปเหมือนคล้ายกับว่า รอวันตายก็ไม่ปาน คือมันสิ้นหวัง ห่อเหี่ยว ยังไงบอกไม่ถูก แต่จะทนอยู่ต่อเพื่อทำหน้าความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์  เช่น เลี้ยงดูอบรมสั่งสอนบุตรหลาน สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามของชาติไทย ให้คงอยู่สืบไป เหล่านี้เป็นต้น

สิ่งหนึ่งในเวลานี้ ที่ทำให้เราเกิดความรู้สึกเช่นนั้นก็เพราะว่า สังคมไทยแบ่งเป็นสองขั้วอย่างเห็นได้ชัด ขั้วหนึ่งเป็นพวกชอบลัทธิบริโภคนิยม อีกขั้วหนึ่งเป็นพวกปฏิเสธลัทธิบริโภคนิยม เพราะเห็นว่าลัทธิดังกล่าวไม่ใช่คำตอบสุดท้ายสำหรับประเทศไทย ทั้งสองขั้วต่อสู้กันมานานนับทศวรรษ และจะยังคงต่อสู้กันอย่างหนักหน่วงไปอีกพักหนึ่ง ในสภาพการณ์แบบนี้ทำให้คนไทยเกิดการหวาดระแวงกัน ไม่ไว้วางใจกัน ซึ่งกันและกัน  ไม่รู้ว่าเขาเป็นพวกเดียวกับเราหรือไม่ จะพูดจาหรือทำอะไรก็ต้องระมัดระวังเพือ่ปกปิดไม่ให้คนอื่นรู้เราเป็นพวกของฝ่ายไหน จะเห็นได้ว่าในทุกวันของคนไทยแทบจะหาความสุขไม่ได้เลย

เอาล่ะครับในเมื่อโลกแห่งความจริงมันเป็นโลกที่เจ็บปวดแบบนี้(และผมขอทำนายไว้ว่าจะยังคงสภาพแบบนี้ไปอีกพักหนึ่ง) เราก็จะก้มหน้าก้มตาฝืนทนกันต่อไป อย่าไปคิดโทษใครเลยครับว่า ใครมันเป็นคนทำให้สังคมไทยเราเปลี่ยนไปมากถึงเพียงนี้ อย่างน้อยที่สุดเราคนหนึ่งก็มีส่วนอยู่บ้างที่เป็นผู้ร่วมกระทำให้สังคมมันเลวร้ายอย่างที่เห็น ดังนั้นในบทความนี้ผมจึงขอนำเสนอ รูปแบบการปฏิบัติตนเองเพื่อให้สามารถดำรงมีชีวิตอยู่ได้บนโลกใบนี้อย่างพอมีความสุขบ้าง แม้จะไม่มากเหมือนเมือก่อนแล้วก็ตาม แต่ยังดีกว่าไม่มีเอาเสียเลย รูปแบบการปฏิบัติตนนี้ผมจะเรียกว่า "คู่มือการดำรงชีวิตอยู่(ของคนไทย) ยุคโจรครองเมือง" ซึ่งมีข้อปฏิบัติดังนี้

  1. พูดให้น้อยทำให้มาก พูดเท่าที่จำเป็นก็พอแล้ว เพราะการพูดคือการเปิดประตูความคิดออกมาให้คนอื่นที่ได้ฟัง เข้าไปนั่ง หากคนที่เข้าไปเป็นพวกเดียวกันก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นคนพวกกันมันก็แย่ ดังนั้นพูดให้น้อย แล้วทำให้มาก เป็นการดีที่สุด
  2. อย่าไปวัดเพียงแค่หวังไปทำบุญ แต่ควรมั่นฝึกปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรมะ แล้วนำมาอบรมถ่ายทอดให้บุตรหลานได้เข้าใจ อันนนี้จะให้เราคลายวิตกลงไปได้ว่า บุตรหลานของเราจะเป็นคนดี
  3. ฝึกการป้องกันตัวเอาไว้ด้วยเพื่อเอาไว้ใช้ป้องกันตัวในเวลาคับขัน และควรฝึกทักษะการเอาตัวรอดให้แก่บุตรหลาน เช่นหัดให้หุงข้าวด้วยวิธีการแบบโบราณ เช่น ไม้ฟืน เตาถ่าน เป็นต้น
  4. ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ เช่นโทรศัพท์มือถือ ควรจะใช้รุ่นที่สามารถถ่ายวิดีโอได้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลหลักฐานทางคดีความ
  5. พบเห็นการขัดแย้งหรือการห่ำหั่นด้วยกำลังกัน หากคนในครอบครัวไม่เกี่ยวข้องด้วย หลบหนีออกไปให้พ้น หากมีสมาชิกในครอบครัวเราเข้าไปพัวพันธ์อยู่ด้วย  ให้หลับตาลงแล้วเรียกสมาธิให้มาอยู่กับตัว แล้วเริ่มแก้ปัญหาความขัดแย้งจากง่ายไปหายาก โดยยึดเจรจาด้วยเหตุผลเป็นหลัก หากอยู่ในเงื่อนไขที่สมาชิกในครอบครัวทุกคนปลอดภัยอะไรที่ยอมได้ก็ยอมมันไปเสียบ้าง เหมือนโบราณว่า เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย
  6. ช่วยเหลือคนอื่นบ้าง หากเราทำได้และไม่เกินกำลัง โดยไม่ต้องสนใจว่าคนที่เรากำลังช่วยเหลือนั้นอยู่ฝ่ายไหน เพื่อเป็นการสร้างคุณงามความดีไว้เป็นเกราะกำบังให้กับตนเอง หรือที่เรียกว่า สะสมบารมี
  7. จำไว้ว่า ตำรวจหากไม่ใช่ญาติ ไม่ต้องคบหาแบบจริงใจ คบแค่ผ่าน ๆ
  8. ร่วมกันสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในครอบครัวและชุมชนที่อาศัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น