หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

หมายจับจากศาลส่งตรงไปยัง แม้ว-อ้อ

๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
หมายจับใบที่ 1
วันที่ 14 สิงหาคม 2550

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สั่งออกหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา จำเลยในคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก

ความผิดฐาน เจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกันเป็นคู่สัญญา หรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุมตรวจสอบ หรือดำเนินคดี และเป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้าไปมีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์ สำหรับตัวเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้น เป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4,100 และ 122 ประกอบ ป. อาญา มาตรา 33, 83, 86, 91, 152 และ 157กรณีถูกกล่าวหาว่าทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษกจำนวน 33 ไร่ มูลค่า 772 ล้านบาทจากกองทุนฟื้นฟูกิจการและสถาบันการเงินอันเป็นการซื้อขายที่ดินต่ำกว่าราคาประเมิน 4,200 ล้านบาท

จำเลยทั้งสองทราบเรื่องที่ถูกฟ้องและได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบแล้ว แต่ไม่มาศาลพฤติการณ์มีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยทั้งสองหลบหนีจึงให้ออกหมายจับจำเลยทั้งสองให้โจทก์ดำเนินการเพื่อให้ตัวจำเลยทั้งสองมาศาลตามหมายจับ

๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒
หมายจับใบที่ 2
วันที่ 3 กันยายน 2550

ศาลอาญากรุงเทพใต้ อนุมัติหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาผู้ต้องหากระทำผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535ในการปกปิดการยื่นแบบแสดงข้อมูล (ไฟลิ่ง) โครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซี แอสเสทคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ผู้ต้องหาทั้งสองคนมีพฤติการณ์ลบเลี่ยงไม่เข้าพบพนักงานสอบสวนที่ออกหมายเรียกถึง 2 ครั้ง ประกอบกับคดีมีอัตราโทษตามกฎหมายที่จะขออนุมัติหมายจับได้

๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓
หมายจับใบที่ 3
วันที่ 13 สิงหาคม 2551

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสั่งออกหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาจำเลยในคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก(คดีเดียวกับ หมายจับที่ 1)เพราะมีพฤติการณ์หลบหนี หลังไม่เดินทางมาศาลตามนัด

ความผิดตามกฎหมายอาญา ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ มีโทษจำคุก 1-10 ปี และคดีมีอายุความ 15 ปี ตามกฎหมายกำหนดหมายจับจะมีอายุความ 15 ปีเท่ากับอายุความของคดี

หมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ มีอายุความ 15 ปี ซึ่งจะหมดอายุความวันที่ 12 สิงหาคม 2566

ส่วนหมายจับคุณหญิงพจมาน มีอายุความ 10 ปี ซึ่งจะหมดอายุความวันที่ 12 สิงหาคม 2561

๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔
หมายจับใบที่ 4
วันที่ 16 กันยายน 2551

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสั่งออกหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยตามความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 152 และ 157กรณีอนุมัติให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยหรือ เอ็กซิมแบงก์ ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับรัฐบาลพม่าจำนวน4,000 ล้านบาท ในการพัฒนาโครงการโทรคมนาคม ของพม่า

ศาลนัดพิจารณาคดีครั้งแรก แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้เดินทางมาปรากฎตัวต่อศาล เนื่องจากได้เดินทางออกนอกประเทศไปพักอยู่ที่ประเทศอังกฤษ

ขณะนี้ศาลสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวจนกว่านำจำเลยมาขึ้นศา

๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕
หมายจับใบที่ 5
วันที่ 17 กันยายน 2551

ศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสั่งออกหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาเพื่อนำตัวมาฟังคำพิพากษาคดีทุจริตซื้อที่ดินรัชดาฯ(คดีเดียวกับ หมายจับที่ 1 และ 3)นัดฟังคำพิพากษาวันนี้ วันที่ 17 กันยายน 2551แต่ทั้งทักษิณ และพจมาน ไม่มา

ศาลมีคำสั่งให้เลื่อนฟังคำพิพากษาออกไปอีกเป็นวันที่ 21 ต.ค. 2551 เวลา 14.00 น.ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพ.ศ. 2542 มาตรา 32 วรรค 2 โดยให้ออกหมายจับจำเลยทั้งสองมาฟังคำพิพากษา

"โง่ ขี้เกียจ มักง่าย ยากจนแต่อยากรวยด้วยวิธีโง่ ๆ"


นี่คือสิ่งที่ยืนยันว่า สันดานถาวรของพวกเพื้อแดงเป็นอย่างที่ผมเคยให้คำกำจัดความเอาไว้จริง ๆ

"โง่ ขี้เกียจ มักง่าย ยากจนแต่อยากรวยด้วยวิธีโง่ ๆ"

ในเมื่อขึ้นต้นก็ "โง่" ลงท้ายก็ "โง่" หมายความว่า "คนเมื่อยิ่งโง่ก็ยิ่งชั่ว"

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า คนเสื้อแดง(ทุกคนก็ว่าได้)มีพฤติกรรม ก้าวร้าว หยาบคาย ชอบใช้กำลังแก้ปัญหา สาเหตุก็มาจากความ "โง่"  เพียงอย่างเดียว เพราะคนเมื่อโง่ก็จะไม่มีปัญญาแก้ปัญหาอะไร คิดอะไรได้(แบบตื้น ๆ) ก็ทำอย่างนั้นทันที นั่นก็คือ ด่าผู้อื่นด้วยคำหยาบคาย หรือไม่ก็ลงไม้ลงมือแบบอันธพาล แล้วมีเรื่องมีราว พอถูกเรื่องถูกคดีก็วิ่งเต้นให้พ้นผิด จนกลายเป็นวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญของคนเสื้อแดง

"วิ่งเต้นให้ตัวเองพ้นผิด" (เหมือนใครบางคน)

คนเสื้อแดง ชีวิตทั้งชีวิตของพวกเขา ไม่เคยยอมรับผิดที่ตนเองทำ ไม่เคยโทษตัวเอง คือจะโทษคนอื่นก่อนทุกที ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ สมองซีกด้านซ้ายซึ่งมีหน้าที่ในการคิดสร้างจินตนา ทำงานได้เร็วกว่าสมองซีกส่วนขวาซึ่งมีหน้าที่คิดหาเหตุผลบนพื้นฐานแห่งความจริง  ทำให้คิดไปข้างหน้าอย่างเดียวพร้อมกับการปกป้องไม่ให้ความผิดมาตกที่ตัวตัว โดยการคิดมุ่งหาคนผิดคนอื่นที่ไม่ใช่ตัวอยู่เป็นประจำ โบราณว่าไว้ "คนดีดีชอบแก้ไขคนจัญไรชอบแก้ตัว"

คุณผู้อ่าน ลองเปรียบเทียบดูเอาเองว่า คนเสื้อแดงเป็นคนดีหรือคนจัญไร?

ดังนั้น เมื่อผิดแล้วไม่ยอมรับผิด อะไรจะเกิดขึ้นตามมา  ผิดแล้วไม่ยอมรับผิดก็หมายถึง จะไม่ยอมแก้ไขในสิ่งที่ผิด(ให้มันดีขึ้น) เมื่อมีการตัดตอนการแก้ไขออกไปจากชีวิตแล้ว ชีวิตทั้งชีวิตมันจะพัฒนายกระดับจิตใจหรือจิตวิญญาณได้อย่างไร พูดง่าย ๆ สั้น ๆ ได้ว่า "พัฒนาไม่ขึ้น" นั่นเอง เมื่อพัฒนาไม่ได้ มันจะต่างอะไรกับเดรัจฉาน เพราะมนุษย์สูงกว่าเดรัจฉานก็ตรงที่ มนุษย์สามารถพัฒนาให้จิตใจสูงได้ ในขณะเดรัจฉานมันทำไม่ได้เพราะธรรมชาติมันให้มาอย่างนั้น

ทีนี้ ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า คุณผู้อ่าน ได้เปรียบเทียบให้คนเสื้อแดงเป็นคนดีหรือเป็นคนจัญไรไปกันอย่างไรบ้างแล้ว ถึงตอนนี้ผมขอให้คุณผู้อ่น  ช่วยเปรียบเทียบต่ออีกหน่อยว่า คนเสื้อแดงพวกนี้เป็นมนุษย์ หรือ เดรัจฉาน ตามเหตุผลที่อธิบายมา

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

คิดแบบนักเศรษฐศาสตร์ กรณีทักษิณอ้างว่า "เข่าเป็นผู้ใช้หนี้ IMF"

ความจริง เรื่อง IMF การที่ ทักษิณ ชินวัตร ตัดสินใจใช้หนี้ก่อนถึงกำหนด 2 ปี มีผลดี หรือ ผลเสีย กันแน่ถ้าใช้หลักทางเศรษฐศาสตร์

ในปี 2546 ดอกเบี้ยเงินฝากภายในประเทศเฉลี่ยปีละ 8% ในขณะที่IMF คิดดอกเบี้ยจากเราแค่ 0.25% และอีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ ถ้าจ่ายหนี้ก่อนกำหนด ต้องเสียค่าปรับอีก 2%

ถ้าตอนนั้น เรามีเงิน 4800 ล้านเหรียญ แปลงเป็นเงินไทย อัตราแลกเปลี่ยนตอนนั้น 41 บาทต่อดอลล่าร์ คิดเป็นเงินไทย 196,800 ล้านบาท เอาฝากธนาคารไว้ 2ปี หักภาษีแล้วจะได้ ดอกเบี้ย ประมาณ 28000 ล้านบาท และ เสียดอกเบี้ยให้ IMF 2ปี จำนวน 984 ล้านบาท คงเหลือกำไร กว่า 27000 ล้านบาท

แต่ ทักษิณ เลือกที่จะใช้หนี้ก่อน ผลคือ เราเสียค่าปรับ 2% จำนวน 3936 ล้านบาท ลดดอกเบี้ย 2ปีลงได้ 984 ล้านบาท ถ้าเอาค่าปรับที่เสีย ลบด้วยดอกเบี้ยที่ไม่ต้องจ่าย จะเหลือ ค่าปรับ 2952ล้านบาท

คำถามก็คือ ถ้า ณ.วันนั้น ประเทศเรามีเงินสด 4800 ล้านเหรียญ หรือ 196,800 ล้านบาท เรายังไม่ชำระหนี้ แต่ฝากในธนาคารไว้เราจะได้ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้นฟรีๆประมาณ27000 ล้านบาท แต่ถ้าเราชำระหนี้ก่อนกำหนด เราต้องเสียเงินเพิ่มอีก 2952 ล้านบาท

คำถามก็คือ ประเทศได้อะไร จากการตัดสินใจครั้งนี้ จะว่า เพราะทำให้ประเทศพ้นจากหนี้สิน แต่เมื่อไปดูข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย กลับปรากฏว่า เงินจำนวน4800ล้านเหรียญ ที่ ทักษิณ ชำระหนี้นั้น ส่วนหนึ่ง กลับเป็นเงินกู้จาก เอ ดี บี และเมื่อดูหนี้ สาธารณะของประเทศ ณ.ปี 2546 หลังจากจ่ายเงินคืน IMF หมดแล้ว กลับเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับหนี้สาธารณะช่วงปลายรัฐบาล ชวน2 ส่งไม้ให้กับ รัฐบาล ทักษิณ1 ถึงกว่า4000ล้าน

คำถามที่คาใจจริงๆคือ หนี้สินของประเทศก็ไม่ได้ลดลงจากการใช้หนี้IMF แล้ว ทักษิณ ไปกู้ เอดีบี มาเพื่อใช้หนี้ IMF ทำไม

อีกคำถามหนึ่งคือ ทักษิณ ประกาศให้ชาวบ้านรู้กันทั่วว่า เขาเป็นคนใช้หนี้IMF ทั้งๆ ตอนไปเบิกเงินกู้ก้อนที่1 และก้อนที่2 เขาเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชวลิต และการที่ใช้หนี้ก่อนกำหนด ประเทศต้องเสียค่าปรับตั้ง2%ซึ่งเป็นเงินถึง 3636 ล้านบาท

ข้อมูลการชำระหนี้ IMF

คัดบางส่วนจาก http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q3/2006august08p04.htm

ข้อมูลการชำระหนี้ IMF มีดังนี้

วงเงินความช่วยเหลือจากโครงการ IMF
แหล่งเงินกู้2542 (ธ.ค.)2543 (ธ.ค.)2544 (ธ.ค.)2545 (พ.ค.)
1. IMF3,431 3,0621,6791,162
2. J-EXIM4,0483,6193,1435,945
3. ธนาคารกลางประเทศต่างๆ5,3385,3383,503-
รวม 12,81712,0198,3257,107
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย


กำหนดระยะการชำระคืนหนี้เงินกู้โครงการ IMF
 งวดแรกงวดสุดท้ายอัตราดอกเบี้ย
1. IMF (ไตรมาสละ 225 ล้านดอลลาร์)ไตรมาส 4 (2543)ไตรมาส 2 (2547)SDR*
2. J-EXIM (ไตรมาสละ 570 ล้านดอลลาร์)ไตรมาส 4 (2546)ไตรมาส 2 (2548)LIBOR ระยะ 6 เดือน
3. ธนาคารกลางประเทศต่างๆ (ไตรมาสละ 350 ล้านดอลลาร์)ไตรมาส 1 (2544)ไตรมาส 3 (2547)2-3% ต่อปี
หมายเหตุ : อัตราดอกเบี้ย SDR เดือนสิงหาคม 2545 เท่ากับร้อยละ 2.23
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

"ความจริงคือ...การปลดหนี้ IMF ไม่ใช่ผลงานคุณทักษิณ"


"คมช. ...ออกไป!!!"     "เจ๊ง!...เครียด...คิดถึงทักษิณ"     หรือบางคนเติมลงไปว่า "เศรษฐกิจเจ๊ง!...เครียด...คิดถึงทักษิณ"
   นี่คือประโยคยอดนิยมที่พูดกันติดปากในการชุมนุมของกลุ่ม นปก.ที่ท้องสนามหลวงเมื่อ ส.ค. 2550 เนื่องด้วยภาพของภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 นั้นยังตราตรึงใจใครหลายคน โดยเข้าใจว่าผู้ที่กู้วิกฤตเศรษฐกิจนั้นคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
   แต่ความจริงไม่ได้เป็นอย่างที่หลายคนคิด! เพราะเรื่องของเศรษฐกิจนั้นประกอบด้วยหลายปัจจัย ไม่ได้จำเพาะเจาะจงในเรื่องของปัจจัยทางการเมือง พรรคการเมือง หรือตัวบุคคลเพียงคนใดคนหนึ่งเท่านั้น!
   เศรษฐกิจ หรือเรื่องของปากท้อง มีความสัมพันธ์กับความนิยมที่มีต่อผู้นำประเทศในแต่ละช่วงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้...ผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่มีหลักคิดพื้นๆเพียงว่า "หากเศรษฐกิจช่วงไหนดีจะยกประโยชน์ให้รัฐบาลที่บริหารประเทศในขณะนั้น" และ "ถ้าเศรษฐกิจช่วงไหนไม่ดีจะโยนบาปให้รัฐบาลที่บริหารประเทศขณะนั้นเช่นกัน"
   เนื่องด้วยหลายคนไม่ได้ศึกษาเรื่องความเป็นไปทางเศรษฐกิจ หรือไม่ได้รับข้อมูลที่แท้จริง รังแต่จะเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง...
   การปลดหนี้ IMF ไม่ใช่ผลงานคุณทักษิณ ไม่ใช่คุณทักษิณมาบริหารประเทศเพียง 2 ปีแล้วใช้ความสามารถของตนเองล้วนๆ ทำให้ไทยปลดหนี้ IMF ได้ และก็ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาโดยรัฐบาลชวน 2 เพียงผู้เดียวเท่านั้น เพราะปัจจัยสำคัญอีกประการคือ "วงจรธุรกิจ" หรือ "วัฏจักรเศรษฐกิจ" ที่มีขึ้น-ลงตามรอบปกติอยู่แล้ว รวมไปถึงธรรมชาติของค่าเงินที่เปลี่ยนจาก 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ที่จะแปลงวิกฤตเป็นโอกาสสำหรับภาคการส่งออกทันที
มาดูกันดีกว่าครับว่าปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ประเทศไทยฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540
ปัจจัยที่ 1 ค่าเงินบาทที่มีผลต่อการส่งออกหลังปี 2540
   การประกาศลอยตัวค่าเงินบาทวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 (กรณีของไทยเมื่อลอยแล้วเงินบาทอ่อนค่าลงจาก 25 บาท/US$ มาเป็นประมาณ 40 บาท/US$) ส่งผลให้การส่งออกเติบโตขึ้น เนื่องจากสินค้าไทยจะดูราคา ถูกลงในมุมมองของต่างชาติทันที และคิดเป็นเงินบาทได้มากกว่าเดิม อธิบายอีกมุมก็คือ "คนอเมริกันถือเงินดอลลาร์เท่าเดิมแต่ซื้อสินค้าไทยได้จำนวนมากขึ้น" ซึ่งจุดนี้ใครๆ ก็คิดว่าคุณทักษิณทำให้ส่งออกได้มาก ถ้าขาดคุณทักษิณแล้วประเทศไทยคงจะแย่ นั่นเป็นความเข้าใจผิด เพราะเรื่องของ "ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง" คือ 1 ใน 3 ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นจากแต่ก่อน

ปัจจัยที่ส่งเสริมให้การส่งออกดีขึ้น
1. ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง
2. ราคาสินค้า
3. เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว
   นอกจากนี้การลอยตัวค่าเงินบาทมีส่วนให้ดุลการค้าของไทยเราเกินดุลอีก การดูดุลการค้าเป็นสิ่งสำคัญกว่าการดูการส่งออกอย่างเดียว เพราะนอกจากเราจะดูว่าเราขายของออกนอกไปเท่าไหร่ ต้องหักของที่เราซื้อเข้าประเทศด้วยไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ทองคำ เหล็ก เป็นต้น
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
แผนภูมิแท่งที่มีตัวเลขกำกับสีดำ (ที่สูงกว่าเลข 0) คือ เกินดุลการค้า (ส่งออกมากกว่านำเข้า...ได้เปรียบเขา)
แผนภูมิแท่งที่มีตัวเลขกำกับสีแดง (ที่ต่ำกว่าเลข 0) คือ ขาดดุลการค้า (นำเข้ามากกว่าส่งออก...เสียเปรียบเขา)
ดุลการค้าคืออะไร?
ดุลการค้า = ส่งออก – นำเข้า

   ก่อนวิกฤติปี 40 ไทยขาดดุลการค้ามาตลอด การส่งออกยังอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าในบางปีจะ ส่งออกได้มาก แต่ก็ยังสู้การนำเข้าไม่ได้
   นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่ว่าไทยไม่ใช่ประเทศที่สมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน เหล็ก ทองคำ จึงต้องนำเข้าวัตถุดิบเหล่านั้น รวมถึงเครื่องจักรและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ "อย่างเกินตัว" และเมื่อไทยจำเป็นต้องลอยตัวค่าเงินบาทย่อมส่งผลเสียต่อผู้ที่กู้เงินในรูปของเงินตราต่างประเทศ แต่ในด้านของผลดีคือ สินค้าไทยดูราคาถูกลงในสายตาของต่างชาติในทันที! การส่งออกได้รับผลดีในช่วงแรกคือส่งออกได้รับเงินมากขึ้นโดยไม่ต้องใช้ปัจจัยใดๆ มาส่งเสริม ส่วนการนำเข้าไม่ต้องพูดถึง เพราะลดลงทันทีถึง 33.8% ในปีแรกที่ลอยตัวค่าเงินบาท คนไทยไปเที่ยวเมืองนอกลดลงทันที (ช่วงแรกๆ) ในทางกลับกันคนต่างชาติมาเที่ยวเมืองไทยมากขึ้น นี่คือกระบวนการที่เกิดขึ้นตั้งแต่คุณทักษิณยังไม่มาบริหารประเทศ
   จากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทยจะชี้ให้เห็นว่าในปี 2541 ไทยเกินดุลการค้าเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2522 (ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ข้อมูลถึงแค่ปี 2522) และในปี 41 นั้นเองที่กลับเป็นรัฐบาลชวนเสียอีก ที่ดุลการค้าเกินดุลมากเป็นประวัติการณ์ คือ เกินดุลถึง 12,200 ล้าน US$ ถามว่าเกี่ยวกับคุณชวนไหม? 
   คำตอบคือ "ไม่เกี่ยว" และ "ไม่เกี่ยวกับคุณทักษิณเช่นกัน" มันเป็นไปตามอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว หมายถึง ไม่ว่ารัฐบาลชุดใด มาบริหารหลังลอยตัวค่าเงินบาท มูลค่าการส่งออกจะมีมากขึ้นทันที
เพียงแต่ในอนาคตข้างหน้า หากจะแข่งขันให้ได้ในระยะยาว ก็ต้องเน้นการพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพขึ้นเรื่อยๆ
   เมื่อการส่งออกของไทยสามารถเติบโตขึ้นได้หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะนำไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ จากเงินที่เคยสูญไปกับการปกป้องค่าเงินบาทเมื่อปี 39-40 ก็กลับเป็นการสะสมเงินทุนสำรองฯ โดยการส่งออก และการท่องเที่ยว 
ไม่ได้เป็นเพราะการบริหารงานของรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่เป็นไปตามธรรมชาติของค่าเงิน
ซึ่งกระบวนการนี้ได้เกิดขึ้นตั้งแต่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังไม่มารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี!
   ถึงจุดนี้หลายคนอาจแย้งว่าคุณทักษิณสามารถหาตลาดส่งออกได้ แต่หากสมมติให้คุณทักษิณมาบริหารประเทศในช่วงก่อนวิกฤติ ที่อัตราแลกเปลี่ยน 25 บาท/US$ ผมรับรองได้ว่าต่อให้หาตลาดส่งออกสักเท่าใดมูลค่าการส่งออกของไทยก็ไม่ได้กระเตื้องขึ้นเท่าไหร่ และจะยังขาดดุลการค้าเหมือนเดิม
   จากแผนภูมิแท่งจะเห็นว่า กลับเป็นปี 48 (สมัยคุณทักษิณ) ด้วยซ้ำไปที่ไทยขาดดุลถึงกว่า 8,000 ล้านUS$
ถามว่า...เป็นความบกพร่องของคุณทักษิณอย่างนั้นใช่หรือไม่?
หรือเป็นเพราะการเคลื่อนไหวของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ที่จัดการชุมนุมในรูปแบบของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรเมื่อปลายปี 48 ที่ทำให้ใครๆ ต่างก็บอกว่าชุมนุมจนเศรษฐกิจไทยพัง!!! อย่างนั้นใช่หรือไม่?
   คำตอบคือไม่ใช่ทั้งคู่ เพราะถ้าเราดูในรายละเอียดจะเห็นว่าเป็นเพราะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ขยับราคาสูงขึ้นอย่างมาก จึงเป็นผลให้ไทยขาดดุลการค้าในปีนั้น
ปัจจัยที่ 2 อัตราดอกเบี้ยต่ำที่ช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัว
   ดอกเบี้ยเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดตัวหนึ่งที่จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงซบเซา หรือลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจก็ได้ แล้วแต่สภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในแต่ละช่วงเวลา
   การกำหนดทิศทางของอัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งประชุมกันทุก 6-8 สัปดาห์ เพื่อประเมินแนวโน้มดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในช่วงเวลาหนึ่งๆ
   ดังนั้นในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 "ดอกเบี้ยต่ำ" จึงเป็นตัวหลักที่ทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปต่อได้...ที่สำคัญ "ดอกเบี้ยต่ำ" ไม่ได้เกิดจากการสั่งการของ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" แต่อย่างใด หากแต่เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจของช่วงเวลานั้น หรือเรียกง่ายๆ ว่า "เป็นไปตามกลไกตลาด"
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย (http://www.bot.or.th/)
   ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามภาวะตลาด โดยการกำหนดทิศทางโดย กนง. และนโยบายดอกเบี้ยต่ำได้เริ่มตั้งแต่ก่อนคุณทักษิณจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เมื่อ "ดอกเบี้ยต่ำ" ก็ส่งเสริมให้คนในประเทศเริ่มจับจ่ายใช้สอย
เมื่อคนเริ่มจับจ่ายใช้สอย...ก็ทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ หมุนเวียนไปตามร้านค้า บริษัทต่างๆ
เมื่อเงินหมุนเวียนไปตามร้านค้า บริษัทต่างๆ...ร้านค้า บริษัทต่างๆ ก็มีรายได้ และเกิดการลงทุนเพิ่ม, การจ้างงาน
เมื่อบริษัทมีรายได้ และคนมีงานทำ...ก็มีเงินใช้จ่าย และส่งภาษี
เมื่อมีเงินส่งภาษี...รัฐฯก็มีเงินงบประมาณที่นำมาใช้จ่าย (หรือใช้หนี้) ต่อไปได้
และผลก็คือเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวในที่สุด
"กระบวนการนี้อาจไม่ได้เริ่มทันทีที่ใช้นโยบายนี้ แต่จะค่อยๆส่งผล...เป็นไปตามวัฎจักรของเศรษฐกิจ"
   แม้วิกฤตเศรษฐกิจปี 40 จะทำให้หลายบริษัทต้องปิดกิจการลง โดยผลกระทบเกิดกับบริษัทที่กู้เงินในรูปของเงินตราต่างประเทศ...ที่เมื่อค่าเงินบาทลอยตัวแล้วมีผลทำให้หนี้เงินกู้เพิ่มขึ้นเท่าตัวเพียงชั่วข้ามคืน...
   แต่เศรษฐกิจในส่วนอื่นแม้ว่าจะได้รับผลกระทบอยู่บ้าง แต่ยังมีกำลังพอที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไปได้ เช่นในรูปแบบของ SME หรือในภาคของสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกที่นำรายได้เข้าประเทศอย่างมาก (ส่งออกได้มากขึ้นเป็นไปตามค่าเงินบาทที่เปลี่ยนไป เพราะธรรมชาติของค่าเงินที่อ่อนตัวลงจะสร้างความได้เปรียบให้แก่ไทย...ไม่เกี่ยวกับความสามารถของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) แตกต่างจากวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบันที่เกิดจากการสร้างภาระหนี้สินอย่างกว้างขวางแก่ประชาชนระดับรากหญ้าในสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี!
   บางคนอาจสงสัยว่า "จากกราฟ...ทำไมในช่วงต้นของรัฐบาลชวน หลีกภัย (หลังจากพลเอกชวลิต ลาออก พ.ย. 40) ดอกเบี้ยกลับเพิ่มสูงขึ้นมาก?...ตรงข้ามกับที่เราเข้าใจว่าเศรษฐกิจเกิดวิกฤตต้องลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
   สาเหตุที่ไทยจำเป็นต้องใช้นโยบายดอกเบี้ยสูงในช่วงแรกของวิกฤตเศรษฐกิจ เพราะตอนนั้นค่าเงินบาทอ่อนค่าอย่างไม่หยุดยั้ง จาก 25 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าจน 60 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยซ้ำไป ดังนั้นเพื่อให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพก่อน และหยุดการไหลออกของเงิน จึงต้องกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูง เมื่อค่าเงินบาทมีเสถียรภาพแล้วจึงใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
นี่คือสิ่งที่ "รายการนายกฯทักษิณ คุยกับประชาชน" ทุกเช้าวันเสาร์(แต่ก่อน) ไม่เคยบอกให้กับประชาชนได้รับรู้!!!
   คุณทักษิณน่าจะรู้อยู่แก่ใจว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจได้เอื่อต่อการบริหารประเทศบ้างแล้ว หลังจากคุณทักษิณได้เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 44 แต่ด้วย"การตลาดนำการเมือง" จึงสร้างความได้เปรียบทางการเมือง และในทางกลับกันก็สามารถสร้างความเข้าใจที่ผิดๆ แก่คนไทยจำนวนมาก
   ชาวบ้านที่ไม่รู้ไม่มีความผิด ไม่ใช่ความผิดของคนที่ไม่รู้ และผมไม่มีสิทธิ์ใช้คำดูถูกดูแคลนชาวบ้านอีกหลายคนที่ไม่รู้เรื่องราวเช่นนี้...ผมอธิบายได้เพียงเท่าที่ผมจะอธิบายได้ อยู่ที่ว่าพวกเขาจะเข้าใจหรือไม่...
ปัจจัยที่ 3 "ภาระหนี้ต่างประเทศ" ที่ลดลงตั้งแต่ก่อนพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
   เป็นที่ทราบดีว่าหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 เมื่อค่าเงินบาทลอยตัวแล้วไปในทางอ่อนค่าลงจะส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้นทันที ตัวอย่างเช่น ราคาพวงกุญแจนำเข้าจากสหรัฐฯ มีราคาชิ้นละ 1 US$ ซึ่งก่อนลอยตัวฯ เมื่อตีค่าเป็นเงินบาทจะอยู่ที่ 25 บาท(โดยประมาณ) แต่เมื่อลอยตัว(แล้วเงินบาทอ่อนค่าลง) ราคาพวงกุญแจ ณ สหรัฐฯ แม้จะมีราคา 1 US$ เหมือนเดิม แต่ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ที่ประมาณ 40 บาท/US$ จึงทำให้ราคาพวงกุญแจนำเข้าชิ้นนั้นเพิ่มราคาเป็น 40 บาท (ถ้าคิดตามปัจจุบันพวงกุญแจพวงนี้จะคิดเป็นเงินไทยประมาณ 33.50 บาท)
   ภาระหนี้ต่างประเทศก็เช่นเดียวกัน เพียงชั่วข้ามคืน วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ผู้ใดก็ตามที่กู้เงินในรูปของเงินตราต่างประเทศ เมื่อตีค่าเป็นเงินบาท ก็จะมียอดหนี้สูงขึ้น เงินบาทอ่อนตัวเท่าใด ยอดหนี้ก็เพิ่มขึ้นเท่านั้น
   ซึ่งจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แสดงให้เห็นว่าก่อนที่คุณทักษิณจะมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีปี 2544 ภาระหนี้ต่างประเทศนั้นก็ได้ลดลงไปมากแล้ว จากที่เคยอยู่ในระดับ 105.1 พันล้านUS$ เมื่อปี 2541
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
   จากแผนภูมิแยกให้เห็นชัดเจนว่าตั้งแต่ปี 2544-2549 คือช่วงที่คุณทักษิณบริหารประเทศ
   ในกรณีนี้หมายถึงการกู้เงินจากต่างประเทศมียอดที่ลดลง เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งปัจจัยนี้ก็ช่วยให้การบริหารประเทศในสมัยรัฐบาลทักษิณนั้นง่ายกว่า "รัฐบาลชวน หลีกภัย" อย่างมาก
   กลับเป็นช่วงก่อนเหตุการณ์ชุมนุมโดยกลุ่มพันธมิตรฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ด้วยซ้ำไปที่ภาระหนี้ต่างประเทศกลับมีแนวโน้มสูงขึ้น
   คำว่า "เจ๊ง...เครียด...คิดถึงทักษิณ" อยากให้คุณทักษิณกลับมาเป็นผู้แก้วิกฤตเศรษฐกิจนั้นเป็นคำพูดของผู้ที่ไม่รู้ หรือรู้แล้วแกล้งไม่รู้เท่านั้น
ปัจจัยที่ 4 ยอดคงค้าง NPL ทั้งระบบ
   NPL หรือ สินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ หนี้เสีย (ภาษาปาก) ก็ได้บริหารจัดการตั้งแต่ก่อนคุณทักษิณจะเข้ามาบริหารประเทศแล้ว
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
   กระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้เสียนี้จะให้ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ (บบส.) หรือหน่วยงานปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของแต่ละธนาคารเป็นผู้ดำเนินการ
   โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เป็นการที่เจ้าหนี้และลูกหนี้สมัครใจแก้ไขปัญหาหนี้ด้วยกัน อาจทำได้ทั้งการยืดระยะเวลาชำระหนี้ การยกเว้นดอกเบี้ยผิดนัด(เนื่องจากหลังวิกฤตเศรษฐกิจมีลูกหนี้หลายรายขาดการผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร ลูกหนี้รายนั้นจึงตกไปอยู่ในเกณฑ์ของ NPL แต่แม้จะหยุดผ่อนชำระ ดอกเบี้ยก็จะยังเดินไม่หยุด อีกทั้งมีดอกเบี้ยปรับกรณีผิดนัดอีก กลายเป็นเพิ่มภาระให้กับลูกหนี้รายนั้น การยกเว้นดอกเบี้ยผิดนัดให้แก่ลูกหนี้ จึงเป็นการช่วยให้ลูกหนี้ยังพออยู่ในสภาพที่จะสามารถชำระหนี้แก่ธนาคารได้ต่อไป) นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนจากภาครัฐด้วย เช่น การลดค่าธรรมเนียมโอนอสังหาริมทรัพย์เหลือเพียงร้อยละ 0.01 "ซึ่งกระบวนการทั้งหมดที่เกิดขึ้นตั้งแต่พรรคไทยรักไทยยังอยู่ในช่วงก่อตั้งพรรค"
   แล้วอย่างนี้จะเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมาเพื่อทำอะไรกับ "เศรษฐกิจไทย"? ในเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ใช่ผู้แก้ไขปัญหาหลักด้วยซ้ำไป
   เรื่องของ "เศรษฐกิจ" มีองค์ประกอบของ "วัฎจักรที่มีทั้งขึ้น-ลง" เป็นตัวหลัก ส่วน "นักการเมือง" ไม่ใช่ผู้ควบคุมทุกปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ปัจจัยที่ 5 การหยุดกู้เงิน IMF ก่อนกำหนดถึง 1 ปี
   ข้อเท็จจริงอีกประการคือ เงินกู้ IMF เป็นเงินกู้แบบ Stand-by ที่มีระยะเวลาเบิกถอน 2 ปี 10 เดือน คือตั้งแต่ สิงหาคม 2540 จนถึงเดือนมิถุนายน 2543
   แต่เนื่องจากฐานะดุลการชำระเงินดีขึ้นมาก รัฐบาลในขณะนั้นที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์จึงตัดสินใจหยุดเบิกถอนเงินกู้ตั้งแต่ มิถุนายน 2542 หมายถึง หยุดเบิกถอนก่อนกำหนดถึง 1 ปี
(ข้อมูลจาก ธปท. อยู่ในข้อการให้ความช่วยเหลือของ IMF)
   เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ยิ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ "ไทยฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจได้เร็วขึ้น" นั่นเอง
   คำถามมีอยู่ว่าในเมื่อปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ ได้เอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแล้ว แต่ทำไมประชาชนจึงยังรู้สึกว่าเศรษฐกิจไม่ดีตั้งแต่ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย?
   ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า...
1. ระยะเวลาของการเกิดผล คือ หลังจากเกิดความเปลี่ยนแปลงของทิศทางค่าเงินบาท, ทิศทางดอกเบี้ย หรือการใช้มาตรการใดๆ แล้ว ต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ขึ้น
2. เรื่องของ "ความรู้สึก" ซึ่งเรื่องนี้กลับเป็นเรื่องหลัก ผมถือได้ว่าเป็นข้อสำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะความรู้สึกของประชาชนนั้นมีผลต่อความมั่นใจในเรื่องอื่นๆ ที่จะตามมา ทั้งความมั่นใจด้านการบริโภค ลงทุน ใช้จ่าย ทั้งๆ ที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจก่อนคุณทักษิณมาเป็นนายกฯ นั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นมากแล้ว ดังจะเห็นได้จากหนังสือแสดงเจตจำนง ฉบับที่ 7 ฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม 2542 แต่ความรู้สึกของประชาชนในขณะนั้นไม่มีความมั่นใจในตัวผู้นำประเทศคือคุณชวน หลีกภัย แต่มีทางเลือกใหม่ที่มีภาพลักษณ์ดีกว่า
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
   การที่ประชาชนส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนฐานของความรู้สึก ถ้าความรู้สึกไปในทิศทางไม่ดี แต่ปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศนั้นดีพอ ก็ไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจเดินไปในทิศทางที่ดีได้

   ดังเช่นในสมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยหลายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ความรู้สึกของคนไทยที่มีต่อผู้นำประเทศในขณะนี้ "ไม่ดี" จึงเกิดความไม่มั่นใจ เพราะรัฐบาลในสมัยนั้นมาจากการทำรัฐประหาร ผลกระทบก็เป็นอย่างที่เห็นกัน (แต่สถานการณ์ปัจจุบันแตกต่างกับวิกฤตปี 40 ตรงที่ปี 2540 นั้นประชาชนระดับรากหญ้าไม่ได้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเท่ากับปัจจุบันนี้!)...
   อย่างในกรณีที่หลายคนกังวลว่า IMF จะกลับเข้ามาอีกรอบนั้นก็เป็นความเข้าใจที่ผิดๆ สำหรับผู้ที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง
   เป็นไปไม่ได้ว่า IMF จะเข้ามาอีกรอบในปัจจุบันนี้อย่างที่คุณทักษิณเคยกล่าวไว้ในทำนองว่าถ้าไม่ใช่คุณทักษิณเป็นผู้บริหารประเทศ ประเทศไทยจะเดินไปสู่ IMF อีกรอบ...ถ้าคุณเชื่อคำที่คุณทักษิณเคยบอกไว้ แสดงว่าคุณอาจจะยังไม่ทราบข้อมูลที่ครบถ้วน ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหญ่...ก็เพียงแค่คุณทำความเข้าใจกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริง
ในสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี มักมีคำกล่าวในทำนองที่ว่า
"ถ้าไม่อยากให้ IMF กลับมาเลือกไทยรักไทย...แต่ถ้าเลือกประชาธิปัตย์ IMF กลับมาแน่!!!"
   คำกล่าวในทำนองนี้ออกมาจากอดีตพรรคการเมืองที่ชื่อ "ไทยรักไทย" ในครั้งหาเสียงเลือกตั้งปี 2548...ด้วยความคิดที่ว่า "ไทยรักไทย" เท่านั้นที่สามารถนำประเทศไทยให้พ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจได้ หรือ "ไทยรักไทย" เท่านั้นที่พาให้เศรษฐกิจไทยเจริญก้าวหน้าได้
   การที่ไทยต้องกู้เงิน IMF ในครั้งนั้นเป็นเพราะเงินสำรองระหว่างประเทศลดลงเหลือเพียง 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ วันที่ 30 มิ.ย. 40 โดยหมดไปกับการต่อสู้การเก็งกำไรค่าเงินบาทสมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต โดยเฉพาะในเดือนพฤษภาคม 2540 ที่มีการต่อสู้การเก็งกำไรค่าเงินบาทอย่างมโหฬาร
   แต่หากได้อ่านตั้งแต่ต้นก็จะเข้าใจดีว่า แท้จริงแล้วการที่ไทยพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 ได้นั้นเป็นไปตาม วัฏจักรเศรษฐกิจที่มีขึ้นและลง เป็นไปตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ช่วยส่งเสริมด้านการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ทำให้ไทยสะสมเงินสำรองระหว่างประเทศจนทะลุ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐไปแล้ว
   ไม่ต้องพึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เงินสำรองระหว่างประเทศก็เพิ่มขึ้นมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยคุณชวน จนคุณทักษิณ จนคุณสุรยุทธ์ หรือจะเปลี่ยนนายกฯ อีกกี่คนก็ตามแต่...เงินสำรองระหว่างประเทศก็มิได้ลดลง
   เพราะประเทศไทยไม่ได้นำเงินสำรองระหว่างประเทศไปต่อสู้การเก็งกำไรค่าเงินบาทอย่างเช่นสมัยพลเอกชวลิต
   เพราะไทยได้เปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว จึงขึ้นลงตามปริมาณเงินตราต่างประเทศ ไม่สามารถเก็งกำไรได้ง่ายดายดังเช่นแต่ก่อน
   เพราะประเทศไทยมีมาตรฐานทางการเงินดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ตั้งแต่การแก้ปัญหาระบบสถาบันการเงินสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์
   โปรดอย่าให้คนอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลอกพวกท่านอีกเลยครับ
   คงมีอีกหลายคนที่เข้าใจว่า IMF เข้ามาในยุคของรัฐบาล "ประชาธิปัตย์" แท้จริงแล้ว IMF เข้ามาตั้งแต่สมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต (พ.ต.ท.ทักษิณเองก็เป็นรองนายกฯ ในสมัยนั้น...ที่มีข้อครรหาเรื่องการรู้ข้อมูลภายในการลอยตัวค่าเงินบาท ที่ทำให้บริษัทของครอบครัวชินวัตรไม่ถูกผลกระทบจากการลอยตัวค่าเงินบาท นอกจากนี้ยังมีข้อสงสัยเรื่องการซื้อเงินดอลลาร์จำนวนมากไว้เพื่อทำกำไรบนความขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยหลังลอยตัวค่าเงินบาทอีกด้วย) 
   รัฐบาลพลเอกชวลิตนั้นเองที่ ครม.อนุมัติให้ ดร.ทนง พิทยะ (รมว.คลัง) ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 1 (Letter of Intent : LOI) เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2540 และหลังจากรัฐบาลชวลิตลงนามใน LOI ฉบับที่ 1 แล้ว พลเอกชวลิตก็ได้ประกาศลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
   จะเห็นข้อความระบุไว้ว่า "ประเทศไทยมีพันธะจะต้องปฏิบัติตาม..." มันเป็นที่มาของอะไร?
   ส่วนหนึ่งมันเป็นที่มาของมาตรการลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ ที่ IMF กำหนดให้รัฐบาลที่มาบริหารงานหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจก็คือ รัฐบาลชวน 2ที่ต้องจำกัดจำเขี่ยที่จะขึ้นเงินเดือนให้ข้าราชการในสมัยของรัฐบาลชวน 2 ตามที่ LOI ระบุไว้ และสุดท้ายข้าราชการในปัจจุบันก็ไม่เคยเข้าใจว่าเหตุใดพวกเขาถึงแทบไม่ได้ขึ้นเงินเดือนในยุคชวน 2 แล้วนำมาเปรียบเทียบกับสมัยรัฐบาลทักษิณ โดยไม่ดูถึงสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
   และที่สำคัญ LOI ที่ทำในสมัยชวลิตนี้ มีคุณทักษิณเป็นรองนายกฯ และมี ดร.ทนง เป็น รมว.คลัง เป็นที่มาของมาตรการแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะด้านพลังงาน ที่คุณทักษิณใช้โจมตีปชป.ตอนหาเสียงปี 2544 ว่าเป็น "กฎหมายขายชาติ" โดยไม่ดูจุดเริ่มต้นว่าเริ่มที่จุดไหน
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
   ต่อข้อกล่าวหาต่างๆ เกี่ยวกับกฎหมาย 11 ฉบับนั้น แท้จริงแล้วเป็น "พันธะ" ที่ได้ระบุไว้ในหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 1 เหตุผลหนึ่งก็เพื่อลดภาระของภาครัฐในยามที่ภาครัฐต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ...แต่ด้วยเกมการเมืองจึงทำให้พรรคการเมืองที่ต้องการเข้าสู่อำนาจการบริหารประเทศนั้น ใช้เป็นเครื่องมือในการโจมตีทางการเมือง...กลับเป็นคุณทักษิณที่แปรรูป ปตท. และผลักดันการแปรรูป กฟผ.? เสียเอง
   สมมติว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีที่รับช่วงบริหารงานต่อจาก พลเอกชวลิต ก็ไม่พ้นที่จะต้องออก "กฎหมายขายชาติ" เช่นเดียวกัน
   ผมขอจบบทความ "ความจริงคือ...การปลดหนี้ IMF ไม่ใช่ผลงานคุณทักษิณ" ด้วยข้อความที่ผมเคยเขียนเมื่อ พฤษภาคม 2549 ไว้ดังนี้
   "หากประเทศไทยไม่เคยมีนายกชื่อทักษิณ ประเทศไทยพ้นวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 ได้อยู่แล้ว เพราะวิกฤตได้แก้ไขมาก่อนหน้า ตรงกันข้าม...วิกฤตปัจจุบันเกิดจากการใช้นโยบายประชานิยมสร้างนิสัยเสียแก่ประชาชน เพื่อหวังคะแนนเสียงทางการเมือง และทำให้ยิ่งต้องใช้เงินคลังมากขึ้น...มากขึ้น
   ผู้นำประเทศที่คนไทยต้องการคือผู้ที่ยืดแนวทางการพัฒนา "คน" เป็นหลัก ผู้นำที่เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตัดสินใจด้วยความรอบคอบ และมีความสุจริตเป็นที่ตั้ง ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน...ไม่มีทักษิณประเทศไทยสามารถอยู่ได้และดีกว่านี้แน่นอน...เสียดายที่คนไทยหลายคนมองเพียงสิ่งที่อยู่ตรงหน้าของตัวเอง และชื่นชมคนเล่นละครเป็นพระเอกในดวงใจ(จาก 1 ใน 19 ล้านเสียงที่คุณทักษิณชอบนำไปกล่าวอ้างเสมอ)
ที่ว่าทักษิณเก่งนั้น คือ "เก่งประชาสัมพันธ์" จริงๆ ครับ
ไม่สงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่...เพื่อสร้างความกระจ่างแก่คนรักทักษิณที่ยังขาดข้อมูล

พูดถึง IMF ใครๆ ก็นึกถึงแต่ ปชป. ..แล้วคุณรู้จัก IMF แค่ไหน?


"กองทุนการเงินระหว่างประเทศ"
International Monetary Fund (IMF)
พูดถึง IMF ใครๆ ก็นึกถึงพรรคประชาธิปัตย์ เหมือนเป็นปาท่องโก๋
ครับ IMF เคยทำให้คนไทยทั้งเกลียด และกลัวมาแล้วไม่น้อย ถึงขนาดทำให้หลายๆ คนกลัวแม้กระทั่งทุกวันนี้!!!
ที่ผ่านมาตลอด 10 กว่าปีเราอาจจะทำความรู้จักกับ IMF น้อยไปสักหน่อย จึงเกิดความเข้าใจที่ผิดๆ ในบางเรื่อง และซ้ำร้ายกว่านั้น IMF ยังกลายเป็นเครื่องมือที่ใช้ฟาดฟันทางการเมืองจากนักการเมืองอย่างไม่ละอาย ให้ข้อมูลที่ผิด อาทิเช่น
   IMF เข้ามาในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ และต่อมาถูกตราหน้าว่าถ้าเมื่อใดพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลก็จะมีแต่การกู้
   ข้อนี้ไม่จริง เนื่องจาก LOI ฉบับที่ 1 ทำขึ้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2540 ส่วนพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาลหลัง พลเอกชวลิต ประกาศลาออกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 แต่ถึงกระนั้นก็มิใช่เรื่องที่จะกล่าวโทษแก่รัฐบาลที่ทำ LOI ฉบับนั้น เนื่องจากในเวลาวิกฤติ ทางเลือกมีอยู่ไม่มาก
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
   ...คนไทยอาจ "จินตนาการ" เรื่อง IMF ไว้น่ากลัวอย่างมาก...จนเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีในจังหวะที่ปัญหาเศรษฐกิจคลี่คลายไปมากแล้ว การโฆษณาประชาสัมพันธ์ว่าตนได้ชดใช้หนี้ IMF จึงได้ผลเกินคาด!
บทความนี้ไม่ได้เชิญชวนให้รัก IMF และก็ไม่ได้ให้เกลียด IMF แต่ต้องการให้...ข้อมูล
ถ้าอย่างนั้นเรามาขจัดความรู้สึกด้วยความรู้กันดีกว่า...
---------------------------------------------
   IMF คือองค์กรที่รัฐบาลของกลุ่มประเทศพันธมิตรได้ร่วมก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยถือกำเนิดขึ้นจากการประชุม United Nations Monetary and Financial Conference เมื่อปี พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลเสถียรภาพของระบบการเงินระหว่างประเทศ อันจะเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของการค้าโลก และเป็นพื้นฐานสำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุนในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก IMF เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี และมีฐานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ
   มีหน้าที่สนับสนุนความร่วมมือทางการเงิน, การค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เกิดการจ้างงาน, สร้างรายได้, สร้างเสถียรภาพในอัตราแลกเปลี่ยนป้องกันการแข่งขันกันลดค่าเงินเพื่อชิงความได้เปรียบทางการค้าให้ความสนับสนุนด้านการเงินแก่ประเทศสมาชิก ในการปรับฐานะดุลการชำระเงินให้ดีขึ้น โดยไม่ต้องใช้มาตรการต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียทั้งต่อเศรษฐกิจของประเทศนั้นและประเทศสมาชิกอื่น ๆ โดยส่วนรวม เป็นต้น
   ถ้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติอยู่ก่อนแล้ว ก็สามารถสมัครเป็นสมาชิกของ IMF ได้
   เมื่อเป็นสมาชิก IMF แล้วก็จะได้ "โควตา" โดยจำนวนโควตาจะขึ้นกับขนาดของเศรษฐกิจ, เงินสำรอง ของประเทศนั้นๆ
   เมื่อได้จำนวน "โควตาก็จะรู้ว่าประเทศนั้นๆ สามารถกู้เงินจาก IMF ไปได้จำนวนเท่าใด...
   และ "โควตา" ก็ใช้เป็นหลักในการคิด "คะแนนเสียง" เช่นกัน...
   เงินทุนที่ IMF ใช้จะเรียกว่า "resources" หรือ "ทรัพยากร" (เงินนั่นเอง) ได้มาจากการชำระเงินค่าโควตาของประเทศสมาชิกเป็นสำคัญ (ค่าสมาชิก)
   แต่ว่า IMF ไม่ได้ให้กู้เงินเป็น US ดอลลาร์ โดยจะใช้หน่วยเงินเป็น SDR (Special Drawing Rights) คือ สิทธิพิเศษถอนเงินเป็นสินทรัพย์สำรองระหว่างประเทศ
   1 SDR ปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 1.3 ดอลลาร์สหรัฐฯ (พ.ค. 2550)
   ไทยเป็นสมาชิก IMF เมื่อ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 เป็นสมาชิกลำดับที่ 44 โดยมีโควตาปัจจุบันเท่ากับ 1,081.9 ล้าน SDR คะแนนเสียง 11,069 คะแนน หรือเทียบเท่ากับร้อยละ 0.52 ของคะแนนเสียงทั้งสิ้น
   นับตั้งแต่เป็นสมาชิก IMF ประเทศไทยเคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF ตามโครงการเงินกู้ Stand-by รวม 5 ครั้งด้วยกันในวงเงินรวมทั้งสิ้น4,431 ล้าน SDR โดยเข้าโครงการ Stand-by
- ครั้งแรกเมื่อปี 2521 จำนวนเงิน 45.25 ล้าน SDR
- ต่อมาในช่วงที่ไทยประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2524 -2529 ประเทศไทยได้เข้าโครงการ Stand-by 3 ครั้ง รับจำนวนเงินทั้งหมด 1,486 ล้าน SDR
- ล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2540 ไทยได้รับความช่วยเหลือจาก IMF เพื่อใช้แก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินเป็นวงเงินทั้งสิ้น 2,900 ล้าน SDR ระยะเวลาเบิกถอน 2 ปี 10 เดือน (แต่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์มิได้เบิกถอนเต็มจำนวน โดยใช้เวลาเบิกถอนเพียง 1 ปี 10 เดือน ด้วยเหตุผลหนึ่งที่ว่าดุลการชำระเงินในขณะนั้นอยู่ในฐานะที่ดีขึ้นมาก)
   IMF ได้ให้ความช่วยเหลือทั้งทางด้านการเงินและวิชาการ
   ทางด้านความช่วยเหลือด้านการเงิน IMF ได้เตรียมทรัพยากรไว้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกภายใต้โครงการเงินกู้ (facility) หลายชนิดตามลักษณะปัญหาดุลการชำระเงินแต่ละกรณี โดยประเทศที่ขอความช่วยเหลือจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ IMF จึงจะได้รับอนุมัติเงินกู้
   ทางด้านความช่วยเหลือด้านวิชาการ IMF จะมีการประชุมเพื่อปรึกษาหารือกับประเทศสมาชิกเพื่อทบทวนสถานการณ์และนโยบายเศรษฐกิจการเงินของสมาชิกเป็นประจำทุกปี (Article IV Consultation) นอกจากนี้ IMF จะจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไปทำการศึกษาและให้ข้อเสนอแนะด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ การเงิน การคลัง การจัดองค์งาน และการทำรายงานสถิติ
ประโยชน์จากการได้รับความช่วยเหลือจาก IMF ได้แก่
1. ด้านวิชาการ คือการได้รับคำแนะนำด้านการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เพื่อแก้ไขปัญหาดุลการชำระเงิน เพื่อให้เศรษฐกิจปรับสู่เสถียรภาพโดยเร็วที่สุด
2. ประโยชน์ทางอ้อม คือ สร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาด และอาจช่วยให้ประเทศสามารถกู้ยืมเงินจากตลาดทุนเอกชนได้เองเร็วขึ้น
3. การเข้าโครงการ Stand-by ครั้งล่าสุดของไทย
ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย www.bot.or.th
----------------------------------------
   "วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ได้ถูกบ่มเพาะมาก่อนหน้านั้นเป็นเวลาหลายปี...IMF ไม่ใช่ต้นเหตุของปัญหา แท้จริงคือการที่คนไทยใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย หลงในอำนาจเงิน อำนาจทุน ไม่ต่างกับแมลงเม่าที่หลงแสงไฟ บินเข้าหาภัยโดยไม่รู้ตัว"
   ดร.ไสว บุญมา เคยเขียนไว้ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 31 มี.ค. 49 ความตอนหนึ่งว่า
"...พันธกิจหนึ่งของ IMF ได้แก่ การให้ประเทศสมาชิกกู้เงินในยามวิกฤตเศรษฐกิจ ผู้กู้จะนำเงินที่กู้ได้ไปทดแทนทุนสำรองของตนซึ่งร่อยหรอลงจนทำให้เกิดวิกฤต เงินที่กู้ไปจาก IMF จึงมิได้ถูกนำไปใช้ หากถูกนำไปฝากไว้กับธนาคารใหญ่ๆ ที่มีความมั่นคงสูง หรือซื้อพันธบัตรของประเทศที่มีพลังทางเศรษฐกิจสูง เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
   เงินกู้นี้จึงมีรายได้ในรูปของดอกเบี้ยซึ่งใกล้เคียงกับดอกเบี้ยที่ผู้กู้ต้องจ่ายให้แก่ IMF
   การกู้เงินของ IMF มาทำเงินสำรองมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่า ประเทศที่กำลังประสบวิกฤตจะสามารถฝ่าฟันวิกฤตออกไปได้สำเร็จ ผู้กู้จะเบิกเงินกู้เป็นงวดๆ และก่อนจะเบิกได้แต่ละครั้งก็ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายและบรรลุเป้าหมายตามที่ IMF กำหนด"
----------------------------------------
อย่าให้นักการเมืองหลอกคุณอีกเลย ไม่ว่าพวกเขาจะตั้งใจหลอกหรือไม่รู้เรื่องจริงๆ ก็ตามที
ไม่สงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่สำหรับคนที่ยังขาดข้อมูล

ย้อนอดีต การคื้นหนี้ "IMF"

คื้นหนี้ "IMF" ..... เป้าหมายเพื่อโกยภาพการเมือง 
การประกาศชำระหนี้เงินกู้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) 
ก่อนกำหนด ถ้าประเมินกระแสทัศนะ ของ นักวิชาการ นักการเงิน และ 
นักธุรกิจแล้ว เสียงสะท้อนส่วนใหญ่ จะสนับสนุนการตัดสินใจของรัฐบาล 


แต่ ..... ก็มีกระแสคัดค้านท้วงติงตามมาประปรายเหมือนกัน เพราะการจ่ายหนี้คืน IMF 
ก่อนกำหนด มีทั้งผลดีและผลเสีย และ น้ำหนักระหว่างผลดีกับผลเสีย ก็ก่ำกึ่งกันมาก 


ฝ่ายที่ ..... สนับสนุนการตัดสินใจของรัฐบาลเห็นว่า "การคืนเงินก่อนกำหนด" 
เป็นการส่งสัญญาณ ว่า ประเทศไทยสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 
จนมีฐานะทางการเงินที่ "แข็งแกร่ง" ขึ้น ซึ่งจะเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนมากขึ้น 


ส่วนฝ่ายที่คัดค้านกังวลว่า ..... 
"การคืนหนี้ก่อนกำหนด" ในสถานการณ์ที่ล่อแหลมจากผลกระทบ 
ต่อสงคราม อาจจะทำให้ประเทศไทยเกิดปัญหา "ความเสี่ยง"....ตามมา 
เพราะ เงินทุนสำรองลดลง และ "ค่าเงินบาทอาจจะเกิดการ ... ผันผวน" 


"เงินทุนสำรองทางการระหว่างประเทศ" เป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงกัน 
เพราะการชำระหนี้คืน หมายถึง "เงินทุนสำรองของประเทศไทยจะลดลง" 
ซึ่งหากเกิดวิกฤตการณ์ใหญ่ในโลก ไทยอาจจะมีปัญหาด้าน "เงินทุนสำรอง" ที่จะใช้จ่าย 


ประเทศไทยเข้าสู่ "โครงการ เงินกู้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ" 
ในปี 2540 ช่วง ..... "รัฐบาล-พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ" 
โดยจะขอรับความช่วยเหลือตามโครงการ เงินกู้จำนวนทั้งสิ้น 
เป็นจำนวนเงิน 17,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 


แต่ ..... "เบิกมาใช้จริง" ทั้งสิ้นประมาณ 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 
ในช่วง "รัฐบาลชวน หลีกภัย" 


เงินกู้ "IMF" ..... มีการทะยอยชำระคืน ไปแล้ว 
เกือบ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 
และเหลือค้างอยู่ประมาณ 4,000 ล้านดอลลาร์ 
ซึ่งจะครบกำหนดชำระคืนทั้งหมดภายใน เดือน "พฤษภาคม ปี 2548" 


แต่ ..... รัฐบาลต้องการใช้คืน "ก่อนกำหนด" 
โดยจะชำระคืนภายในปี 2546 ซึ่งจะแบ่งการชำระคืนเป็น 3 งวด 
แบ่งเป็นงวดละ 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 


งวดแรก ..... ชำระในเดือน "มกราคม " ที่ผ่านมานี้ 
และการชำระคืนก่อนกำหนด จะลดภาระดอกเบี้ยได้ 
รวมทั้งสิ้นประมาณ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 


สำหรับ "เงินทุนสำรอง" ของประเทศล่าสุด 
มีประมาณ 38.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 
ซึ่งหากหักการชำระหนี้ IMF ..... ทั้งหมด 3 งวด 
จะเหลือเงินทุนสำรองทั้งสิ้นประมาณ 33.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 
โดยไม่นับเงินทุนสำรองที่จะเพิ่มขึ้นในช่วง 6 เดือนข้างหน้า 


การปลดเปลื้องพันธนาการ ..... จากฐานะการ เป็น "ลูกหนี้ IMF" ครั้งนี้ 
ไม่ได้ทำให้เงินทุนสำรองสั่นคลอน เท่าใดนัก แต่การคืนหนี้ก่อนกำหนด 
ก็ไม่ได้ทำให้ประเทศไทยได้อะไรมากมาย 


สรุปก็คือ ..... "การคืนหรือไม่คืนหนี้ ก่อนกำหนด" นี้ 
ผลดีผลเสีย มีเพียงเล็กน้อย หรือ มีผลที่ไม่แตกต่างกัน 
และ ต่างประเทศก็คงจะไม่ถือว่า การคืนหนี้ก่อนกำหนด 
"จะเป็นสาระ" ที่นำไปสู่การตัดสินใจว่า จะเชื่อมั่นหรือยังไม่เชื่อมั่นประเทศไทย 


เพราะ ..... "สาระ" ที่ต่างประเทศ ให้ "ความสำคัญ" มากกว่า คือ 
- เศรษฐกิจจะฟื้นอย่าง ... มั่นคงหรือไม่ ??? 
- ตลาดทุนจะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง เพียงพอที่ภาคธุรกิจเอกชน จะระดมทุนอย่าง 
คล่องตัว เพื่อแก้ปัญหา "ฐานะ" หรือ "ขยาย" การลงทุนได้หรือไม่ โดยเฉพาะ ... "ธนาคารพาณิชย์"