หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ย้อนรอยการเมืองไทยจากยุคปชต.ครึ่งใบสู่ยุคธนกิจการเมือง (ตอนที่ 1)



โครงสร้างรอยต่อปชต.ครึ่งใบยุคนายกฯไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จนถึงยุคนักเลือกตั้งได้เป็นนายกฯกระทั่งเกิดการรัฐประหาร 2 ครั้ง ในยุค พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งจะเป็นภาพรวมให้เห็นพัฒนาการทางการเมืองของประเทศไทยว่าจริง ๆ แล้ว เรากำลังก้าวหน้าหรือถอยหลังเพราะมีเผด็จการซ่อนรูปในคราบประชาธิปไตย

ยุคพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี 8 ปี กับวลี “ผมพอแล้ว”

ยุค “น้าชาติ” พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน เชื่อกันว่า ปชต.เบ่งบาน เศรษฐกิจเฟื่องฟูก่อนจะเป็นฟองสบู่จนระบบเศรษฐกิจแทบพัง พร้อม ๆ กับบาทบาทของนักการเมืองมูมมามในนาม “บุฟเฟต์คาบิเนต”

รสช.กระทำการรัฐประหาร ยืนยันไม่มีการสืบทอดอำนาจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ใช้อำนาจทหารได้สัมปทานไทยคมผ่าน พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์

ตั้งอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ก่อนมีการเลือกตั้ง

คณะรสช.ตั้งพรรคสามัคคีธรรมหวังใช้นักการเมืองสืบทอดอำนาจ ดัน “พล.อ.สุจินดา คราประยูร” เป็นนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

เกิดเหตุพฤษภาทมิฬ ในหลวงทรงคลี่คลายสถานการณ์ด้วยการเรียก พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และ พล.อ.สุจินดา คราประยูร เข้าเฝ้า ตามมาด้วยการลาออกของพล.อ.สุจินดา และ อานันท์ คัมแบ๊ครอบสอง

เกิดการแบ่งแยกระหว่างพรรคเทพและพรรคมาร โดยพรรคการเมืองที่สนับสนุนรัฐบาล พล.อ.สุจินดา ถูกขนานนามว่า “พรรคมาร” 

พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง ชวน หลีกภัย เป็นนายกฯก่อนจะยุบสภาเพราะพรรคพลังธรรมถอนตัวจากปัญหา สปก. 4-01 โดยในขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามามีบทบาทในพรรคพลังธรรมและเป็น รมว.ต่างประเทศในรัฐบาลชวน แต่ประสบปัญหาถือหุ้นเกินกว่ากฎหมายกำหนด ทำให้ลาออกจากตำแหน่งไป 

จากนั้นได้ก้าวขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคพลังธรรม เข้าสู่การเมืองเต็มรูปแบบก่อนจะนำไปสู่จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งตลอดหลายปีที่ผ่านมา จนนำไปสู่โศกนาฎกรรมของประเทศ ซึ่งวันนี้ความแตกแยกยังดำรงอยู่ และมีวี่แววว่าจะเกิดความรุนแรงทางการเมืองได้ตลอดเวลา จากการที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังยึดประโยชน์พี่ชาย รื้อรัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้พี่ชายพ้นผิดทุกคดีได้ทรัพย์สิน 4.6 หมื่นล้านที่ถูกยึดคืน และนิรโทษกรรมให้กับแดงเผาเมือง ซึ่งขึ้นมามีอำนาจ ท่ามกลางกระแสต่อต้านจากประชาชนจำนวนมาก ทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อความสูญเสียอีกครั้ง

ย้อนรอยการเมืองไทยจากยุคปชต.ครึ่งใบสู่ยุคธุระกิจการเมือง ตอนสอง


บรรหาร ศิลปอาชา เจ้าของวลี “เป็นฝ่ายค้านอดอยากปากแห้ง” ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีได้ปีเศษ ท่ามกลางปัญหาการทุจริตและปัญหาทางเศรษฐกิจที่เริ่มรุนแรงขึ้น ก่อนถูกบีบให้ลาออกแต่บรรหารเลือการยุบสภาแทน

พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดม็อบสีลม สถาบันการเงินเจ๊งระเนระนาด ก่อนประกาศลอยตัวค่าเงินบาท และลาออกเพราะวิกฤตต้มยำกุ้ง ทำไทยเป็นทาสไอเอ็มเอฟ โดยขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นรองนายกรัฐมนตรี และ นายเสนาะ เทียนทอง เคยแฉไว้ในหนังสือรู้ทันทักษิณ ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ประโยชน์จากการลอยตัวค่าเงินบาทในคราวนั้นอย่างมหาศาลเพราะรู้ล่วงหน้า เปรียบเสมือนกันเป็นการเผาบ้านตัวเอง

นายชวน หลีกภัย ได้รับเลือกจากสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดกลุ่มงูเห่าที่พลิกขั้วหันมาสนับสนุนนายชวน แทน พล.อ.ชาติชาย รัฐบาลชวนตั้งทีมเศรษฐกิจที่น่าเชื่อถือเพื่อฟื้นฟูความล่มสลายของเศรษฐกิจ ท่ามกลางความยากลำบากของคนไทย โดยบริหารจนนำชาติออกจากห้องไอซียู แต่คนเริ่มเบื่อหน่าย มีกระแสโจมตีจากสื่อมวลชนว่าเป็นเด็กดีของไอเอ็มเอฟ และข้อกล่าวหาเรื่องทุจริตเรื่อง ปรส. (องค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน) ซึ่งมีนายอมเรศ ศิลาอ่อน เป็นประธาน ซึ่งกรณีนี้ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาจำคุกนายอมเรศ ศิลาอ่อน อดีตประธานองค์การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) จำเลยที่ 1 และนายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ อดีตเลขาธิการ ปรส. จำเลยที่ 2 ในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ฟ้องนายอมเรศ กับพวกรวม 6 คน ร่วมกันเป็นจำเลยในความผิดฐานกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11

โดยศาลพิเคราะห์ จากพยานหลักฐานแล้วเห็นว่าจำเลยทั้ง 2 ผิดฐานไม่เรียกเก็บเงินงวดแรกในการขายสินทรัพย์ให้กับบริษัทเอกชนเลห์แมนบราเธอร์ส โฮลดิ้ง อิ้งค์ จำกัดจำนวน 2,304 ล้านบาท ตามหลักเกณฑ์กำหนดที่ไว้ ผิดตาม พรบ.ว่าด้วย ความผิดพนักงานในองค์กรของรัฐ จึงพิพากษาจำคุกจำเลยทั้ง 2 เป็นเวลา 2 ปี ปรับ 2 หมื่นบาท แต่เคยทำคุณให้ประเทศชาติและอายุมากจึงรอลงอาญา 3 ปี ให้คุมประพฤติ 1 ปี เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 55 ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามตลอดการบริหารของนายชวน ได้ฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น จากการเริ่มต้นที่ศูนย์เพราะเงินทุนสำรองหมดประเทศค้าขายกับต่างชาติไม่ได้ จนกระทั่งเศรษฐกิจไทยเริ่มมีความเข้มแข็งมากขึ้น แต่การถูกโจมตีอย่างหนักจากสื่อมวลชนและความเบื่อหน่ายของประชาชน ซึ่งไม่เข้าใจว่า ปรส.เป็นองค์กรที่ไม่ได้อยู่ภายใต้กำกับของรัฐบาลแต่ทำงานอย่างเป็นเอกเทศซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่รัฐบาลพล.อ.ชวลิต เป็นผู้ออก ความผิดของ ปรส.จึงถูกโยนบาปมาที่ ธารินทร์และรัฐบาลชวนกลายเป็น ทำให้เกิดช่องว่างให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตั้งพรรคไทยรักไทย สร้างความหวังใหม่ให้กับประเทศด้วยวิธีการตลาดนำการเมือง จนคนไทยลืมไปเลยว่า

“ที่ไทยต้องเป็นทาสไอเอ็มเอฟ เกิดขึ้นในยุคที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นรองนายกฯ แต่กลับจดจำว่า พ.ต.ท.ทักษิณ คือผู้ปลดแอกไทยออกจากการเป็นทาสของไอเอ็มเอฟ ทั้ง ๆ ที่รัฐบาลซึ่งบริหารจนไทยผ่านพ้นวิกฤตมาได้คือรัฐบาลชวน หลีกภัย” และด้วยการเมืองนำการตลาดประกอบกับนโยบายประชานิยม ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีผลสะเทือนประเทศไทยมาจนถึงทุกวันนี้ สิ่งที่น่าเสียดายคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ก้าวข้ามเส้นแบ่งระหว่างการเป็นทรราชกับรัฐบุรุษไม่ได้ เพราะความโลภอันไม่มีที่สิ้นสุด ใช้มวลชนเป็นเครื่องมือจนเป็นจุดเริ่มต้นความแตกแยกในประเทศไทยที่ร้าวลึกเกินกว่าที่ใครจะคาดคิด

รัฐบาลบรรหารกับการขาดธรรมาภิบาล สู่รัฐบาล ชวลิต จุดเริ่มต้นความล่มสลายทางเศรษฐกิจปี 2540 และความร่ำรวยของ พ.ต.ท.ทักษิณ จากกการลอยตัวค่าเงินบาทบนหายนะของบ้านเมือง


จะว่าไปแล้ววิธีคิดของนักการเมืองจำนวนหนึ่งในสภามิได้เปลี่ยนแปลงจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะเมื่อใดก็ตามที่มีการยุบสภาก็จะมีการย้ายพรรคกันอุตลุด หรือที่เรียกกันดิบ ๆ ว่า เป็นพวก ส.ส.โสเภณีโดยในขณะนั้นค่าตัวรายละประมาณ 20-25 ล้านบาท โดยในห้วงเวลานั้นมีอดีต ส.ส. ย้ายพรรค 47 คน ดังนี้ คือ พรรคพลังธรรมย้ายออก 13 คน พรรคชาติพัฒนา 13 คน พรรคความหวังใหม่ 9 คน พรรคกิจสังคม 3 คน พรรคเสรีธรรม 3 คน พรรคชาติไทย 3 คน พรรคประชาธิปัตย์ 2 คน และพรรคเอกภาพ 1 คน

หลังการเลือกตั้งพรรคช่าติไทยของนายบรรหาร ศิลปอาชา ได้ส.ส.อันดับหนึ่งจำนวน 92 ที่นั่ง ส่วนพรรคประชาธิปัตย์อันดับสอง 86 ที่นั่ง กระแสแบ่งแยกพรรคเทพ พรรคมารเริ่มน้อยลง จึงเกิดการผสมพันธุ์กันระหว่างเทพกับมารประกอบด้วย พรรคชาติไทย พรรคความหวังใหม่ พรรคพลังธรรม พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย พรรคนำไทย และพรรคมวลชน มีส.ส.ทั้งหมด 233 คน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ดำรงตำแหน่งรองนายกฯในรัฐบาลบรรหารด้วย

การก้าวขึ้นสู่อำนาจของนายบรรหารเป็นช่วงที่ฟองสบู่ใกล้แตก เกิดความเสื่อมถอยของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปัญหาหนี้เน่า และความผันผวนของตลาดการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยยังผูกติดค่าเงินบาทไว้กับดอลลาร์ สิ่งที่สะท้อนถึงสัญญาณอันตรายทางเศรษฐกิจแต่รัฐบาลบรรหารมิได้ให้ความสนใจคือ ปี 2538 และ 2539 ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยตกต่ำเข้าขั้นวิกฤต สองปีติดต่อกัน คือ -8.2 และ -8.1

ทำให้เงินบาทอยู่ในสภาวะไม่มั่นคงสุ่มเสี่ยงกับการถูกโจมตีเป็นอย่างยิ่ง และเป็นยุคที่ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยเอาใจนักการเมืองมากกว่าจะรักษาวินัยการเงินการคลัง กระทั่งเดือนมีนาคม 2539 สถาบันจัดอันดับ Moody's ได้เตือนว่าจะลดอันดับหนี้ระยะสั้นของไทย

ขณะที่การแก้ปัญหาสถาบันการเงินขาดธรรมาภิบาลโดยตัวละครที่มีบทบาทคือ วิจิตร สุพินิจ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย วีรพงษ์ รามางกูร ประธานที่ปรึกษาแบงก์บีบีซี และ นิพัทธ พุกกะณะสุต ประธานบอร์ดธนาคารออมสิน ซึ่งในขณะนั้นเกิดการทุจริตอย่างมโหฬารของผู้บริหารแบงก์บีบีซี จนมีการเพิ่มทุน 2 ครั้งในเดือน ก.ค.38 และมี.ค.39 โดยให้กองทุนฟื้นฟูฯ เข้าซื้อหุ้นทั้งสองครั้ง เป็นมูลค่า 750 ล้านบาท และ 5,400 ล้านบาทตามลำดับ โดยไม่สั่งให้ บีบีซี ลดทุนก่อน ทำให้ต่างชาติขาดความเชื่อมั่น นำไปสู่กระบวนการถอนการลงทุนออกจากประเทศไทย (ปัจจุบันตัวละครเหล่านี้เข้ามามีบทบาทในการวางยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ นายวีรพงษ์ เป็น ประธานแบ๊งก์ชาติ)

“นิพัทธ” เข้าไปมีบทบาทร่วมด้วยในฐานะประธานบอร์ดธนาคารออมสิน โดยให้ธนาคารออมสินเข้าไปร่วมซื้อหุ้นด้วย (ศาลอุทธรณ์ตัดสินให้เขาชดใช้เงินให้ธนาคารออมสิน 534 ล้านบาท คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา) ปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญในขณะนั้นคือ นักการเมืองล้วงลูกแสวงประโยชน์ ส.ส.กลุ่ม 16 ของนายเนวิน ชิดชอบ เข้าไปเกี่ยวข้องในการกู้เงินจากแบ๊งก์บีบีซีจนเกิดหนี้เน่ามหาศาล และผู่้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยขาดธรรมาภิบาล จน วิจิตร ต้องลาออกจากตำแหน่งในเดือน ก.ค.2539


ต่อมาในเดือนกันยายน 2539 สถาบันจัดอันดับ Moody's ปรับลดลดอันดับพันธบัตรระยะสั้นของไทย เป็นเหตุให้ช่วงนั้นบรรดานักเก็งกำไรต่างชาติได้เข้ามาโจมตีค่าเงินหลายครั้ง แต่ยังไม่รุนแรงนัก ขณะที่รัฐบาลบรรหารไร้เสถียรภาพทางการเมืองตลอดการบริหารมีการปรับครม.ถึง 6 ครั้ง ประกอบกับผู้นำอย่างนายบรรหารขาดความตื่นตัวและไร้วิสัยทัศน์ด้านนโยบายทางการเงินการคลังที่สอดคล้องกับยุคโลกาภิวัฒน์ ทำให้มีปัญหาในการวางยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจตามมา

ปัญหาเริ่มรุมเร้าทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ มีการหักหลังทางการเมืองโดยบรรหารใช้วิธีการยุบสภา แทนที่จะลาออกแล้วให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน ตามแรงบีบของพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้น โดยช่วงปลายรัฐบาลนายบรรหาร ในวันที่ 14 สิงหาคม รัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีจากพรรคพลังธรรมลาออกจากตำแหน่งพร้อมกันถึง 5 คน ซึ่งนับเป็นการลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2 ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

แต่แล้วนายบรรหารก็ตัดสินใจประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร มีการเลือกตั้งวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่ตัวละครเดิมที่ทำเศรษฐกิจพังในยุคบรรหารกลับมาอยู่ครบถ้วนในทีมเศรษฐกิจของ พล.อ.ชวลิต คือ พ.ต.ท.ทักษิณ และ วีรพงษ์ รามางกูร

การบริหารของ พล.อ.ชวลิต มิได้แตกต่างไปจากนายบรรหาร คือ การเมืองไร้เสถียรภาพ แก้ปัญหาเศรษฐกิจผิดพลาด ทำให้เศรษฐกิจอ่อนแออย่างมาก แทนที่จะมีการลอยตัวค่าเงินบาทในช่วงที่เงินทุนสำรองระหว่างประเทศยังมีอยู่มาก กลับเลือกลอยตัวค่าเงินบาทในช่วงเงินทุนสำรองระหว่างประเทศแทบจะหมดสิ้น เพราะนำไปปกป้องค่าเงินบาท

การลอยตัวค่าเงินบาทในคราวนั้นทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้กำไรมหาศาลจากความล่มสลายของเศรษฐกิจไทย ซึ่งนายเสนาะ เทียนทองเป็นคนแฉไว้เองว่า

"คนที่เกี่ยวข้องกับการลดค่าเงินบาทในขณะนั้นมี 4 คนคือ พล.อ.ชวลิต , พ.ต.ท.ทักษิณ , นายทนง และนายโภคิน ส่วนจะรู้เห็นกันขนาดไหนผมไม่รู้เขา บอกว่าเขาไม่รู้อันนี้ไม่มีใบเสร็จ แต่ถ้าถามผมว่าผลที่เกิดหลังค่าเงินบาทลอยตัวออกมาอย่างไร มันส่อชัดว่าทักษิณและบริษัทรอดวิกฤติคนเดียว คือผลลัพธ์มันสะท้อนชัดอยู่แล้ว การที่มีคนไปซื้อประกันความเสี่ยง เรื่องค่าเงินบาทเอาไว้มากๆ หรือไปซื้อดอลลาร์เอาไว้มากๆ ก่อนประกาศลอยค่าเงินบาท ก็เหมือนจุดไฟเผาบ้านตัวเองเพื่อเอาเงินประกัน เศรษฐกิจของชาติพังเสียหาย แต่ตัวเองรอดพ้นวิกฤติเพราะได้ประกัน”


ปัญหารัฐบาลบรรหาร-ชวลิต

1 การเมืองไร้เสถียรภาพ

2 นักการเมือง ผู้ว่าแบ๊งค์ชาติ ผู้บริหารสถาบันการเงินขาด ธรรมาภิบาล

3 นักการเมืองแสวงหาประโยชน์จากแบ๊งก์บีบีซีจนเป็นส่วนหนึ่งทำให้ธนาคารดังกล่าวล่มสลาย

4 การแก้ปัญหาแบ๊งก์บีบีซีขาดธรรมาภิบาลเพิ่มทุนโดยไม่ลดทุน

5 สถานะทางการคลังย่ำแย่ เพราะบริหารโดยขาดวินัยการเงินการคลัง

6 เริ่มถูกโจมตีค่าเงินบาท หลังสถาบันจัดอันอับ Moody's ปรับลดลดอันดับพันธบัตรระยะสั้นของไทย

7 ทิ้งปัญหาทุนสำรองระหว่างประเทศและเสถียรภาพสถาบันการเงิน จนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540

8 นำเศรษฐกิจไทยไปเป็นทาสไอเอ็มเอฟ

ลอยตัวค่าเงินบาทเศรษฐกิจชาติยับ ธุรกิจทักษิณ รอด ลอยแพปล่อยไทยวิบัติลากไปเป็นทาสไอเอ็มเอฟชิ่งหนี



มีความพยายามที่จะทำให้เกิดความเข้่าใจผิดว่า ต้นตอที่ทำให้เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง คือการเปิดเสรีทางการเงิน หรือ BIBF ในยุคชวน 1 ด้วยการกล่าว หาว่า เปิดเสรีทางการเงินเร็วเกินไปและขาดมาตรการรองรับจนส่งผลต่อเนื่องมาถึงรัฐบาลบรรหาร และพล.อ.ชวลิต จึงขอเรียงลำดับข้อมูลให้เข้าใจความจริงได้ง่ายขึ้นดังนี้ 

1 BIBF มีแนวคิดเปิดมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน แต่เปิดได้จริงในยุคชวน 1

2 การเปิด BIBF ไม่ว่าเป็นรัฐบาลใดก็ต้องทำ เพื่อเปิดให้องค์กรธุรกิจในประเทศเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำจากทั่วโลก ถือเป็นการลดต้นทุนทางการเงิน และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับธุรกิจไทย

3 ในยุคชวน 1 ที่เปิด BIBF ไม่มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เพราะผู้บริหารมีธรรมาภิบาล และแบ๊งค์ชาติไม่ได้รับใช้การเมืองจนเกิดปัญหาวินัยการเงินการคลัง อีกทั้งไม่ได้ประสบปัญหาผู้บริหารสถาบันการเงินทุจริตด้วย เมื่อรัฐบาลชวนหมดวาระลงเศรษฐกิจก็ไม่ได้มีปัญหา

4 ภาวะปัญหาสะสมรุนแรงในยุค บรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อเนื่องมาถึงรัฐบาลชวลิต ยงใจยุทธ เพราะแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ผิดพลาด การขาดธรรมาภิบาลที่ดีของผู้นำ แบ๊งค์ชาติรับใช้การเมือง ปล่อยให้นักการเมืองร่วมกับผู้บริหารสถาบันการเงินเข้าไปแสวงหาประโยชน์จนตอเริ่มโผล่จากกรณีหนี้เน่าของแบ๊งก์บีบีซี ที่มี ส.ส.กลุ่ม 16 ของนายเนวิน ชิดชอบ ซึ่งขณะนั้นเป็นส.ส.สังกัดพรรคชาติไทย เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย

5 การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินหย่อนคุณภาพ ไม่ยึดหลักธรรมาภิบาล เกิดปัญหาภาระหนี้ระยะสั้น ซึ่งออกอาการตั้งแต่สมัยที่นายบรรหารเป็นนายกรัฐมนตรี แต่กลับละเลยที่จะแก้ปัญหาหรืออาจมองไม่เห็นปัญหาเพราะขาดวิสัยทัศน์ทางด้านเศรษฐกิจก็เป็นได้

6 ยุค พล.อ.ชวลิต สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเลวร้ายลง นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ประชาชนขาดความมั่นใจในสถาบันการเงินแห่ถอนเงินฝาก จนเศรษฐกิจไทยอ่อนแออย่างยิ่ง

7 ในยุคดังกล่าวยังตัดสินใจแก้ปัญหาผิดพลาดจนทำให้เศรษฐกิจไทยล่มสลาย เพราะแทนที่จะลอยตัวค่าเงินบาทในช่วงเวลาที่ทุนสำรองระหว่างประเทศยังมีอยู่มาก กลับนำไปปกป้องค่าเงินบาทที่ถูกโจมตี จนเงินทุนสำรองแทบจะหมดเกลี้ยงจนต้องกู้เงินจากไอเอ็มเอฟ

8 ความอ่อนแอของสถาบันการเงินในแต่ละแห่งไม่ได้หนักหนาสาหัสเท่าเทียมกัน แต่รัฐบาลชวลิต ก็แก้ปัญหาผิดทางแทนที่จะเข้าแทรกแซงควบรวมกิจการเพิ่มความเข้มแข็งให้สถาบันการเงิน กลับเลือกประกาศปิดสถาบันการเงินจำนวนมาก จนยิ่งเป็นชนวนให้ความเชื่อมั่นหดหายลามไปถึงธนาคารพาณิชย์ กระทบต่อสภาพคล่องและเศรษฐกิจในภาพรวม

9 ทนง พิทยะ รมว.คลังที่ใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ คือผู้นำไทยสู่การเป็นทาสไอเอ็มเอฟ ผูกมัดเงื่อนไขให้ไทยทำตาม ก่อนรัฐบาลชวนเข้ามาฟื้นฟูประเทศ

10 เงินทุนสำรองช่วงชวลิต เหลือ 8,962 ล้านเหรียญสหรัฐ รัฐบาลชวนฟื้นฟูเศรษฐกิจจนเงินทุนสำรองอยู่ที่ 30,526 ล้านเหรียญสหรัฐ

สิ่งที่น่าสนใจคือในช่วงที่ธุรกิจไทยล้มระเนระนาดแต่ ธุรกิจของ พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่รอดปลอดภัย ในขณะที่เศรษฐกิจชาติใกล้ล่มสลาย แทนที่รัฐบาลชวลิตที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นรองนายกฯ จะรับผิดชอบด้วยการแก้ปัญหาให้ลุล่วงหลังตัดสินใจกู้เงินจากไอเอ็มเอฟ กลับลาออกลอยแพประเทศไทย จ
นรัฐบาลชวน 2 เข้ามารับช่วงต่อในการฟื้นฟูประเทศ

"จะเอาทักษิณหรือประเทศไทย" (เสนาะ เทียนทอง รู้ทันทักษิณ4)



นายเสนาะ ได้เขียนในหัวข้อ "จะเอาทักษิณ หรือประเทศไทย" 
มีเนื้อหาสาระที่สำคัญว่า

-รู้จักพ.ต.ท.ทักษิณ ตั้งแต่ปี 2529 แบบผิวเผิน ตั้งแต่เป็นนายตำรวจติดตามรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณพยายามสร้างความสัมพันธ์กับหัวหน้าพรรคคือ ทำธุรกิจกับการเมือง วิ่งเต้นเข้าทางผู้ใหญ่สูงสุดของพรรค
-ต่อมาตนย้าย ไปเป็นเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ พ.ต.ท.ทักษิณได้สนับสนุนปัจจัยการเมืองผ่านไปทาง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ในขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณจึงได้เข้ามาเป็นรองนายกรัฐมนตรี

-เมื่อก่อนเกิดวิกฤติค่าเงินบาท นายอำนวย วีรวรรณ รมว.คลังในขณะนั้นลาออก มีการคิดกันว่าจะให้ตำแหน่งนี้กับ พ.ต.ท.ทักษิณด้วยซ้ำ ตนได้ไปทาบทามคนที่น่าเชื่อถือในสังคม โดยนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รับปากว่าจะเข้ามาช่วยเป็น รมว.คลัง ปรากฏว่า พ.ต.ท.ทักษิณไปนำนายทนง พิทยะ ผู้บริหารธนาคารทหารไทยมารับตำแหน่งนี้แทน โดยที่ตนไม่รู้เรื่อง

-พ.ต.ท.ทักษิณไปซุบซิบกับ พล.อ.ชวลิต และนายโภคิน พลกุล อดีต รมต.สำนักนายกฯ แล้วจึงมีคำสั่งแต่งตั้งนายทนง ก่อนเงินบาทลอยตัว ผมไม่รู้เรื่องด้วย เพราะอยู่นอกวงของพวกเขา

-คนที่เกี่ยวข้องกับการลดค่าเงินบาทในขณะนั้นมี 4 คนคือ พล.อ.ชวลิต , พ.ต.ท.ทักษิณ , นายทนง และนายโภคิน ส่วนจะรู้เห็นกันขนาดไหนผมไม่รู้เขา บอกว่าเขาไม่รู้อันนี้ไม่มีใบเสร็จ แต่ถ้าถามผมว่าผลที่เกิดหลังค่าเงินบาทลอยตัวออกมาอย่างไร มันส่อชัดว่าทักษิณและบริษัทรอดวิกฤติคนเดียว คือผลลัพธ์มันสะท้อนชัดอยู่แล้ว

-”การที่มีคนไปซื้อประกันความเสี่ยง เรื่องค่าเงินบาทเอาไว้มากๆ หรือไปซื้อดอลลาร์เอาไว้มากๆ ก่อนประกาศลอยค่าเงินบาท ก็เหมือนจุดไฟเผาบ้านตัวเองเพื่อเอาเงินประกัน เศรษฐกิจของชาติพังเสียหาย แต่ตัวเองรอดพ้นวิกฤติเพราะได้ประกัน” นายเสนาะกล่าว

นายเสนาะกล่าวว่า หากต้องการจะรู้ทันทักษิณ ต้องเข้าใจเสียก่อนว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นคนอย่างไร เพราะลักษณะเฉพาะและตัวตนของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการใช้อำนาจและบริหารราชการแผ่นดินของทักษิณทั้งหมด นั้นประกอบขึ้นมาเป็นระบอบทักษิณ ซึ่งมีทั้งระบบการใช้อำนาจและการแสวงหาผลประโยชน์อยู่ร่วมกัน

พ.ต.ท.ทักษิณเป็นคนมีวุฒิการศึกษา แต่ขาดวุฒิภาวะการเป็นผู้นำ ไม่มีสภาวะผู้นำโดยเฉพาะในระดับประเทศ เป็นคนไม่มีประสบการณ์ในการบริหารราชการ แม้เคยรับราชการตำรวจก็อยู่ไม่นาน และใช้เวลาว่างไปกับการประกอบธุรกิจ

พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนักเสี่ยงโชค ขาดความรอบคอบ เคยประสบปัญหาทางธุรกิจ แลกเช็คและถูกฟ้องเช็คเด้ง นิยมบริหารธุรกิจแบบคิดไวทำไว โดยใช้การตลาดเป็นเครื่องมื

“การจดทะเบียนคนจนนั้น ผมเคยแนะนำว่ามันทำไม่ได้ ไปประกาศเฉยๆ ไม่ได้ เอามาขึ้นทะเบียนเฉยๆ คนที่เป็นหนี้สินอยู่ที่ไม่ใช่คนจนก็ไจดทะเบียนด้วย มันจะบานปลายไปใหญ่ พี่ไม่เห็นด้วย มองด้วยจิตสำนึกมันปฏิบัติไม่ได้ มันได้แค่โชว์ตัวเลขตอนเลือกตั้ง จากนั้นไม่มีผลจริง”

แต่ทักษิณตอบว่า “โธ่…พี่เหนาะ คนตาบอดมันกลัวเสือเหรอ ถ้าเราไม่พูดแบบนี้เราจะได้เสียงเหรอ”

-เขาพูดอย่างนี้แสดงว่าไม่ได้จริงใจกับนโยบาย ประกาศไปก่อนค่อยหาวิธีการทำการตลาดทีหลัง ไปเสี่ยงเอาข้างหน้าขอให้ได้คะแนนเสียงไว้ก่อน ไม่สนวิธีปฏิบัติราชการ แม้แต่โครงการเอสเอ็มแอล ผมก็เตือนว่าเข้าข่ายซื้อเสียง เพราะอยู่ในภาวะเลือกตั้ง ทักษิณตอบว่า

“โธ่…อำนาจอยู่ที่เรา กกต.ก็ของเรา”

“คน ก็บอกเรา ล่าสุดก่อนการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 มีการกระทำผิดกฎหมาย คือขนคนมาฟังการปราศรัยโดยจ้างมา มันผิดกฎหมายแน่นอน แต่ กกต.กลับเฉย” นายเสนาะกล่าว

พ.ต.ท.ทักษิณเคยบอกรัฐมนตรีในรัฐบาลว่า “ไม่ต้องคิดอะไรมาก ขอให้ทำตามก็พอ” หากรัฐมนตรีของ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นคนที่คิดมาก รอบคอบ คอยตักเตือนจะอยู่ไม่ได้เลย คนที่อยู่ได้จะต้องตอบ “เยส” อย่างเดียว เช่น นายพินิจเคยพูดว่า

“ท่านนายกฯ ผมไม่เคยเห็นใครคิดได้ดีเท่านี้เลย” หรือนายเนวิน ก็มักพูดว่า “ดีนายๆ”

-ด้วย เหตุนี้รัฐมนตรีบางคนในช่วงเทศกาลเลือกตั้ง มักมีบัตรเลือกตั้งที่พิมพ์เกินอยู่เต็มรถ จึงได้รับการฟูมฟักอย่างดี เหนียวแน่น ถูกเรียกใช้งานบ่อยๆ ในช่วงหลัง

-ยิ่งกว่านั้นยังมีการใช้ ระบบธุรกิจครอบครัวมาจัดการผลประโยชน์ในรัฐบาลแบบ เบ็ดเสร็จ ตั้งแต่ขนคนที่เคยทำงานกับตัวเองในบริษัทแบบยกชุด วางคนของตัวเองไปในทุกกระทรวง โดยไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งที่มีอำนาจอย่างเป็นทางการ แต่ทุกคนในกระทรวงจะรู้ดีว่า คนคนนี้คือคนของเขา จะทำอะไรก็ต้องผ่านคนคนนี้ เรียกว่ามีสองสามคนไปดูแลผลประโยชน์ทุกกระทรวง

-เป็นเสมือนหลงจู๊ แล้วยังส่งคนไปยึดตำแหน่งใน กมธ.ชุดต่างๆ ของสภาผู้แทนฯ ใน ครม.ก็ไม่ต่างกัน ทุกโครงการที่จะมีการอนุมัติ ถ้ารัฐมนตรีคนไหนเสนอเรื่องขอใช้งบกลางที่จัดสรรไว้มหาศาล ก็ต้องไปเคลียร์กับคนของเขาให้เรียบร้อยก่อน รัฐมนตรีหลายคนจะมีคนของเขาเข้ามาบอกว่า

“เดี๋ยวทำงบฯ จะเอากี่พันล้าน แต่ต้องเอาเข้าพรรค 10 เปอร์เซ็นต์” หมายความว่าจะไปทำอะไรขึ้นมาก็ได้ ไปเขียนโครงการมา นายเสนาะกล่าวว่า ถ้ารัฐมนตรีคนไหนทำไม่ได้ก็อยู่ไม่ได้

-เวลาทำโครงการก็ต้องจ้างที่ปรึกษาที่เป็นคนของตัวเอง แล้วใช้วิธีที่เก่งที่สุดคือ ยกเว้นระเบียบพิเศษ ยิ่งใช้วิธีขีดเส้นตายว่าต้องเสร็จวันนั้นวันนี้ เหมือนกรณีสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อจะได้ใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างแบบพิเศษ นโยบาย 10 เปอร์เซ็นต์ รัฐมนตรีต้องทำโครงการ โดยตบแต่งงบประมาณขึ้นมาก่อนว่ามูลค่าของโครงการจะครอบคลุม 10 เปอร์เซ็นต์ที่ต้องหักเข้าพรรค จากนั้นไปตกลงกับคนของเขาผ่านคุณหญิง เมื่อเรียบร้อยเมื่อใดก็ส่งมาให้ตัวตายตัวแทนทางการเมืองที่เขาไว้ใจ

-พอเข้า ครม. นายกฯ จะเสนอโครงการและอนุมัติให้เองเสร็จสรรพ รัฐมนตรีไม่ต้องคิดไม่ต้องสงสัย ทุกวันนี้ยังไม่มีใครรู้ใครเข้าใจว่า 10 เปอร์เซ็นต์มีอยู่เท่าไร คงต้องไปถามคุณหญิง

นายเสนาะกล่าวว่า สิ่งที่สุดทนจริงๆ คือ กรณีผู้ว่าฯ สตง.ที่ถูกแทรกแซงการทำงาน แทรกแซงองค์กรอิสระ และละเมิดพระราชอำนาจ มันเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่สำคัญ ที่ทำให้ตนลุกขึ้นอภิปรายเมื่อ 8 มิ.ย.2548 การประกาศตัดขาดแตกหักกลางสภาฯ พูดได้ว่า

-ถ้ามันเอาชีวิตได้มันเอาไปแล้ว มันแค้น แต่ก็ไม่กล้า ตอนหลังคนของ พ.ต.ท.ทักษิณก็ติดต่อมาหลายครั้ง ตนพูดตรงๆ ไปว่าเรื่องมันมาถึงขนาดนี้แล้ว เมื่อไม่ยอมลดละเอง จนเราต้องแตกหักไปสู่สาธารณชนแล้ว สิ่งสำคัญนายกฯ ก็ต้องแก้ข้อกล่าวหาทั้งหมดให้ได้ และตนยังพูดอีกว่า

-ถ้าบอกจะกินข้าวกันตอนนี้ มันยังไงล่ะ..ให้พี่เป็นผู้เป็นคนดีกว่า อย่าให้พี่เป็นหมาเลย

นายเสนาะกล่าวว่า ก่อนที่จะเกิดปัญหาทั้งหมดตนก็พยายามไปเตือน แต่เรื่องที่เตือนก็เป็นการขัดผลประโยชน์เขาทุกเรื่อง เช่นคิดว่ารัฐมนตรีคอรัปชั่น ตนก็ไปเตือนเพราะคิดว่าไม่รู้ ที่ไหนได้มันสั่งเอง ขนาดกลายเป็นว่ารัฐมนตรีคนไหนไม่ทำตามสั่ง ภายหลังก็อยู่ไม่ได้

-ความขัดแย้งในปัจจุบันมาสาเหตุมาจากตัวปัญหาคน เดียวคือ พ.ต.ท.ทักษิณ คนคนนี้โกงเพื่อเข้ามาสู่อำนาจ เมื่อมีอำนาจก็โกงอีก อันตรายต่อบ้านเมืองสุดๆ พ.ต.ท.ทักษิณน่ากลัวเพราะเป็นคนมีวุฒิการศึกษา จ้องวางแผนเอาเปรียบคนอื่น ถือว่าต่ำต้อยเหลือเกินในการเป็นผู้นำประเทศ

“ผมจำคำพูดของทักษิณที่เคย บอกว่า พี่เหนาะผมพร้อมแล้ว สมบัติส่วนหนึ่งผมให้ลูก อีกส่วนเก็บไว้สำหรับตายาย กินจนตายก็ไม่หมด สมบัติอีกส่วนจะทำเพื่อบ้านเมือง จะใช้หนี้แผ่นดิน” คำพูดนั้นๆ ผมเคยหลงคิดว่าคนคนหนึ่งรวยแล้วกลับใจ คิดใช้หนี้แผ่นดิน ตอนนี้ผมรู้ความจริงแล้วว่า รวยจากโกงชาติ กล้าทำแม้เผาบ้านเมืองเพื่อเอาประกัน คนรวยคนนี้รวยแล้วไม่รู้จักพอ

-ไม่ใช้หนี้แผ่นดินยังไม่พอ มันยังโกงกิน ทรยศต่อแผ่นดิน” นายเสนาะกล่าวและว่า ตนเคยพูดและเตือนกับคุณหญิงอ้อว่า “น้องถ้ามันได้มาอีกแสนล้านเอาไปทำไม” เขาพากันตอบว่า

“ก็รู้ แต่ในเมื่อเล่นการเมืองมันต้องควักเงิน ก็ต้องถือว่าเป็นธุรกิจ” เคยเตือนหนักๆ ถึงขั้นว่า “ในอนาคต ถ้ามันจะเดือดร้อนหนักๆ คือคนเป็นหัวนะ” เขาก็ตอบอย่างไม่สะทกสะท้านว่า

“ก็รู้ ถ้าพี่ทักษิณจะลง ต้องให้พรรคไทยรักไทยมีอำนาจอย่างน้อยสองสมัยถึงจะปลอดภัย”

"จะเอาทักษิณหรือประเทศไทย" (เสนาะ เทียนทอง รู้ทันทักษิณ4)


บางช่วงในบทความเกี่ยวกับประชานิยม

“การจดทะเบียนคนจนนั้น ผมเคยแนะนำว่ามันทำไม่ได้ ไปประกาศเฉยๆ ไม่ได้ เอามาขึ้นทะเบียนเฉยๆ คนที่เป็นหนี้สินอยู่ที่ไม่ใช่คนจนก็ไจดทะเบียนด้วย มันจะบานปลายไปใหญ่ พี่ไม่เห็นด้วย มองด้วยจิตสำนึกมันปฏิบัติไม่ได้ มันได้แค่โชว์ตัวเลขตอนเลือกตั้ง จากนั้นไม่มีผลจริง”

แต่ทักษิณตอบว่า “โธ่…พี่เหนาะ คนตาบอดมันกลัวเสือเหรอ ถ้าเราไม่พูดแบบนี้เราจะได้เสียงเหรอ”

-เขาพูดอย่างนี้แสดงว่าไม่ได้จริงใจกับนโยบาย ประกาศไปก่อนค่อยหาวิธีการทำการตลาดทีหลัง ไปเสี่ยงเอาข้างหน้าขอให้ได้คะแนนเสียงไว้ก่อน ไม่สนวิธีปฏิบัติราชการ แม้แต่โครงการเอสเอ็มแอล ผมก็เตือนว่าเข้าข่ายซื้อเสียง เพราะอยู่ในภาวะเลือกตั้ง ทักษิณตอบว่า

“โธ่…อำนาจอยู่ที่เรา กกต.ก็ของเรา”

เปิดตำนานกลุ่ม 13 งูเห่า พลิกขั้วตั้งรัฐบาลชวน 2 “ไมรู้ว่าจะชนะเลือกตั้งสมัยหน้าหรือเปล่า แต่ต้องพาประเทศให้รอด”


การเมืองช่วงปลายรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ไม่เพียงแต่จะไร้เสถียรภาพเท่านั้น แต่ปัญหาเศรษฐกิจที่รุมเร้าอย่างหนักจนเกิดม็อบสีลมกดดันให้รัฐบาลลาออก ในที่สุด พล.อ.ชวลิต ก็ตัดสินใจลาออก โดยในขณะนั้นพรรคร่วมรัฐบาลเดิมมีมติที่จะสนับสนุนให้ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา นั่งแท่นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน เนื่องจากมีจำนวนส.ส.เป็นอันดับสองในกลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลคือ ความหวังใหม่ 125 ส่วนชาติพัฒนา 52 เสียง

เกมพลิกขั้วการเมืองเป็นไปอย่างเข้มข้น เนื่องจากพรรคฝ่ายค้านเดิมนำโดย พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีส.ส. 123 เสียงได้จับมือกับพรรคชาติไทย เอกภพา พลังธรรม ไท กิจสังคม และ เสรีธรรม รวมแล้วได้ 196 เสียงน้อยกว่าพรรคร่วมรัฐบาลเดิมเพียง 1 เสียงเท่านั้น และจุดนี้เองที่กลายเป็นตำนาน “กลุ่มงูเห่า” ที่แหกมติพรรคประชากรไทยหันไปสนับสนุนให้นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี แต่นายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่สนับสนุนนายชวน ได้ลาออกจากตำแหน่ง ส.ส.หลังจากมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายชวน เป็นนายกรัฐมนตรี โดยเป็นรัฐบาลผสม 209 เสียง ทำให้ขั้วรัฐบาลเดิมเหลือเสียเงพียง 185 เสียงเท่านั้น ท่ามกลางการโจมตีว่าเป็นการได้อำนาจที่ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยเพราะดึงส.ส.จากพรรคการเมืองรัฐบาลมาร่วมด้วย

ต่อมาพรรคประชากรไทยมีมติขับ 12 ส.ส.ออกจากพรรคเพื่อให้สิ้นสมาชิกภาพความเป็นส.ส. แต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพของกลุ่มงูเห่าไม่สิ้นสุดลง เนื่องจาก ส.ส.มีความเป็นอิสระไม่ต้องปฏิบัติตามมติพรรค ดังนั้่นมติขับไล่ส.ส.ทั้ง 12 คนออกจากพรรคประชากรไทย จึงเป็นมติที่มิชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้ทั้ง 12 คนยังดำรงสถานะความเป็น ส.ส.ต่อไป

กลุ่มงูเห่าได้รับการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีรวม 4 ตำแหน่ง คือ พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี วัฒนา อัศเวเหม รมช.มหาดไทย ประกอบสังข์โต รมช.แรงงาน และ ยิ่งพันธ์ มนะสิการ รมว.วิทยาศาสตร์ ต่อมานายวัฒนาถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินให้จำคุก 10 ปี เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2551 ในคดีทุจริตที่ดินคลองด่าน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการหลบหนีคดี และเพิ่งมีภาพปรากฏตัวในงานสร้างภูเขาทองจำลองที่วัดเหมอัศวาราม เมืองลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน

ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจรัฐบาลชวน 2 ตั้งนายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ เป็น รมว.คลัง และนายศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ บนความคาดหวังของประชาชนว่า ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลจะนำชาติพ้นวิกฤตต้มยำกุ้ง ซึ่งผู้เขียนเคยพูดคุยเป็นการส่วนตัวกับคุณชวน หลีกภัย ถึงการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีว่า “ท่านได้ทุกขลาภ”

จำได้ว่าคุณชวนยิ้มน้อย ๆ ที่มุมปาก ก่อนจะถามกลับว่า “การเป็นรัฐบาลถือว่าได้ลาภหรือ” ผู้เขียนจึงตอบไปว่า “นักการเมืองก็มีแต่คิดเป็นรัฐบาลทั้งนั้น แต่ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีท่ามกลางความทุกข์ของคนไทย เสี่ยงมากที่สมัยหน้าจะไม่ชนะเลือกตั้ง เพราะคงไม่มีประชาชนชอบรัฐบาลที่เข้ามาจัดระเบียบการใช้จ่ายเงินตามเงื่อนไขไอเอ็มเอฟ”

คุณชวนแตะที่บ่าผู้เขียนก่อนจะตอบว่า “ผมไม่รู้ว่าจะชนะเลือกตั้งสมัยหน้าหรือเปล่า ผมรู้แต่ว่ามีหน้าที่เอาประเทศให้รอดเท่านั้น”

แม้วร่วมจิ๋วลากไทยเป็นทาสไอเอ็มเอฟ เศรษฐกิจพังพาบน้าชาติ ขอเป็นนายกก่อน 6 เดือน


ในช่วงรอยต่อทางการเมืองหลังจากที่พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคร่วมรัฐบาลเดิมพยายามที่จะจับขั้วเป็นรัฐบาลต่อไป โดยชู พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ซึ่งมีส.ส. 52 เสียง เป็นนายกรัฐมนตรี แต่กระแสสังคมในขณะนั้นสิ้นศรัทธาและขาดความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลเดิมโดยสิ้นเชิง และสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนขั้วรัฐบาลโดยให้พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีส.ส.เป็นอันดับ 2 คือ 123 เสียง เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล

แต่การจัดตั้งรัฐบาลก็มิได้ทำโดยง่าย เพราะการตั้งรัฐบาลขึ้นอยู่กับจำนวนส.ส.ที่ต้องรวบรวมเป็นเสียงข้างมากให้ได้เสียก่อน ซึ่งในห้วงเวลานั้นจะเต็มไปด้วยการต่อรองของแต่ละพรรคการเมือง โดยเฉพาะพรรคขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีบทบาทสำคัญทำให้การจัดตั้งรัฐบาลประสบความสำเร็จ

ที่น่าสนใจและคนไทยจำนวนมากอาจไม่เคยรู้มาก่อนเลยคือ ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อดังกล่าว พล.อ.ชาติชาย ซึ่งมองเกมการเมืองออกว่ากระแสสังคมตอบรับให้มีการเปลี่ยนขั้วรัฐบาลเพื่อให้นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรีมากกว่า ถึงกับมีการเสนอข้อต่อรองในลักษณะสมบัตผลัดกันชม ในยามที่เศรษฐกิจไทยประสบกับความวิบัติ ซึ่งพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ในชณะนั้นมีส่วนสำคัญยิ่งที่ทำให้การจัดตั้งรัฐบาลชวน 2 ประสบความสำเร็จ

“พล.อ.ชาติชาย ส่งคนมาพบผมและเสนอว่าเขาขอเป็นนายกรัฐมนตรีก่อน 6 เดือน จากนั้นค่อยมีการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล แต่ผมไม่ยอมและคิดว่าพรรคมีคะแนนอันดับ 2 เรามีสิทธิตั้งรัฐบาลได้ตามระบบ และเศรษฐกิจไทยขณะนั้นก็แย่มากเกินกว่าจะมาคิดถึงเรื่องการเมือง เราต้องเอาบ้านเมืองให้รอดก่อน นี่คือสิ่งเดียวที่เราคิดในขณะนั้น ถึงได้มีการเรียกว่า ดรีมทีมเศรษฐกิจ แต่ผมก็บอกเสมอว่าเป็น เรียลทีมเศรษฐกิจ คือ มันเป็นความจริงไม่ใช่ความฝัน”

น่าเสียดายที่ในช่วงเวลานั้นผู้เขียนไม่สามารถนำเสนอเรื่องเหล่านี้ต่อสาธารณะได้ เพราะเป็นการคุยนอกรอบกับคุณชวน ที่ให้ข้อมูลแต่ไม่อนุญาตให้เขียนเป็นข่าว มาถึงวันนี้เหตุการณ์ผ่านมา 15 ปีแล้ว ประกอบกับมีการ กล่าวหาว่า คุณชวน ได้เป็นนายกรัฐมนตรีแบบไม่สง่างามเพราะมีกลุ่มงูเห่าแยกตัวออกจากรัฐบาลเดิมไปเติมคะแนนเสียงให้ แต่ความจริงคือ ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินว่า กลุ่มงูเห่าที่ไม่ปฏิบัติตามมติพรรคนั้นเป็นเอกสิทธิของส.ส.ที่จะใช้มติพรรคบังคับมิได้ นั่นย่อมหมายถึงว่าการตัดสินใจเป็นไปโดยอิสระของส.ส.กลุ่มดังกล่าวที่จะเลือกไปร่วมกับพรรคการเมืองใดในการจัดตั้งรัฐบาลก็ได้ ซึ่งเป็นไปตามระบบไม่ใช่เรื่องนอกระบบแต่อย่างใด

ด้วยเหตุที่พรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นคิดแต่เรื่องการเมืองมากกว่าบ้านเมือง จึงเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจในยุคพล.อ.ชวลิต ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นรองนายกรัฐมนตรี ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เนื่องจากขาดความเอาใจใส่ต่อสัญญาณอันตรายจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แสดงอาการออกมา

ดังจะเห็นได้จากเอกสารที่ นร 0205/ว(ล)125 ที่นายนพดล เฮงเจริญ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2540 เรื่อง การรายงานสถานการณ์ทงการเงินการคลัง โดยทำหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี นายทนง พิทยะ รมว.คลัง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย มีเนื้อหา ดังนี้

ด้วยในคราวการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2540 คณะรัฐมนตรีเห็นว่าปัญหาเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้น คณะรัฐมนตรีจำเป็นต้องมีข้อมูลและได้รับรู้ปัญหาที่แท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการเงินการคลัง ซึ่งในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้รับทราบข้อมูลและตัวเลขเรื่องนี้น้อยมาก และโดยที่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในช่วงการชะลอตัวนี้ จะต้องรีบเร่งดำเนินการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยเร็วตามข้อตกลงภายใต้กรอบความร่วมมือของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ คณะรัฐมนตรีควรจะได้รับทราบข้อมูลและผลการดำเนินการในเรื่องนี้ต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ จึงมีมติให้กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รายงานข้อมูลผลการดำเนินงานและสภาพเศรษฐกิจโดยรวม ให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมของการปฏิบัติงานในแต่ละเรื่อง


นี่คือความจริงที่ยืนยันได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครม.พล.อ.ชวลิต คือผู้ลากไทยเป็นทาสไอเอ็มเอฟ ขณะที่รัฐบาลชวน 2 ถูกผูกมัดด้วยเงื่อนไขที่รัฐบาล พล.อ.ชวลิตไปลงนามไว้ ไม่ต่างอะไรจากการเข้ามาบริหารเสมือนถูกมัดมือชก ไม่สามารถเดินออกจากแนวทางที่รัฐบาลชวลิตตกลงไว้กับไอเอ็มเอฟได้ ตลอดช่วงการบริหารจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะการแก้ปัญหาต้องใช้เวลา ทำให้ประชาชนเกิดความเบื่อหน่าย จนเป็นช่องว่างของการก่อกำเนิดพรรคไทยรักไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ใช้การตลาดนำการเมือง ประกอบกับนโยบายประชานิยมหวือหวา จนคนไทยลืมไปเลยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ คือ รองนายกรัฐมนตรีใน ครม.ที่ทำให้เศรษฐกิจไทยพินาศต้องไปเป็นทาสไอเอ็มเอฟ และยังได้รับประโยชน์จากความหายนะของชาติในช่วงลอยตัวค่าเงินบาท เนื่องจากรู้้ข้อมูลเป็นการภายในจาก นายทนง ก่อนลอยตัวค่าเงินบาทวันที่ 2 ก.ค.2540

ซึ่งเจ้าตัวยอมรับในการสัมภาษณ์พิเศษ “ซีรีส์ 15 ปี วิกฤต 2540” ทนง พิท ยะ อดีตรมว.คลัง “ขออภัยที่ทำให้หลายคนเจ็บปวด” ในบางช่วงบางตอนว่า การรับตำแหน่ง รมว.คลังในขณะนั้น เป็นเรื่องบุญคุณต้องทดแทนด้วย

ลิงค์สัมภาษณ์ทนง พิทยะ
http://thaipublica.org/2012/07/series-15-years-of-crisis-1/