หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

รัฐบาลบรรหารกับการขาดธรรมาภิบาล สู่รัฐบาล ชวลิต จุดเริ่มต้นความล่มสลายทางเศรษฐกิจปี 2540 และความร่ำรวยของ พ.ต.ท.ทักษิณ จากกการลอยตัวค่าเงินบาทบนหายนะของบ้านเมือง


จะว่าไปแล้ววิธีคิดของนักการเมืองจำนวนหนึ่งในสภามิได้เปลี่ยนแปลงจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะเมื่อใดก็ตามที่มีการยุบสภาก็จะมีการย้ายพรรคกันอุตลุด หรือที่เรียกกันดิบ ๆ ว่า เป็นพวก ส.ส.โสเภณีโดยในขณะนั้นค่าตัวรายละประมาณ 20-25 ล้านบาท โดยในห้วงเวลานั้นมีอดีต ส.ส. ย้ายพรรค 47 คน ดังนี้ คือ พรรคพลังธรรมย้ายออก 13 คน พรรคชาติพัฒนา 13 คน พรรคความหวังใหม่ 9 คน พรรคกิจสังคม 3 คน พรรคเสรีธรรม 3 คน พรรคชาติไทย 3 คน พรรคประชาธิปัตย์ 2 คน และพรรคเอกภาพ 1 คน

หลังการเลือกตั้งพรรคช่าติไทยของนายบรรหาร ศิลปอาชา ได้ส.ส.อันดับหนึ่งจำนวน 92 ที่นั่ง ส่วนพรรคประชาธิปัตย์อันดับสอง 86 ที่นั่ง กระแสแบ่งแยกพรรคเทพ พรรคมารเริ่มน้อยลง จึงเกิดการผสมพันธุ์กันระหว่างเทพกับมารประกอบด้วย พรรคชาติไทย พรรคความหวังใหม่ พรรคพลังธรรม พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย พรรคนำไทย และพรรคมวลชน มีส.ส.ทั้งหมด 233 คน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ดำรงตำแหน่งรองนายกฯในรัฐบาลบรรหารด้วย

การก้าวขึ้นสู่อำนาจของนายบรรหารเป็นช่วงที่ฟองสบู่ใกล้แตก เกิดความเสื่อมถอยของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปัญหาหนี้เน่า และความผันผวนของตลาดการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยยังผูกติดค่าเงินบาทไว้กับดอลลาร์ สิ่งที่สะท้อนถึงสัญญาณอันตรายทางเศรษฐกิจแต่รัฐบาลบรรหารมิได้ให้ความสนใจคือ ปี 2538 และ 2539 ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยตกต่ำเข้าขั้นวิกฤต สองปีติดต่อกัน คือ -8.2 และ -8.1

ทำให้เงินบาทอยู่ในสภาวะไม่มั่นคงสุ่มเสี่ยงกับการถูกโจมตีเป็นอย่างยิ่ง และเป็นยุคที่ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยเอาใจนักการเมืองมากกว่าจะรักษาวินัยการเงินการคลัง กระทั่งเดือนมีนาคม 2539 สถาบันจัดอันดับ Moody's ได้เตือนว่าจะลดอันดับหนี้ระยะสั้นของไทย

ขณะที่การแก้ปัญหาสถาบันการเงินขาดธรรมาภิบาลโดยตัวละครที่มีบทบาทคือ วิจิตร สุพินิจ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย วีรพงษ์ รามางกูร ประธานที่ปรึกษาแบงก์บีบีซี และ นิพัทธ พุกกะณะสุต ประธานบอร์ดธนาคารออมสิน ซึ่งในขณะนั้นเกิดการทุจริตอย่างมโหฬารของผู้บริหารแบงก์บีบีซี จนมีการเพิ่มทุน 2 ครั้งในเดือน ก.ค.38 และมี.ค.39 โดยให้กองทุนฟื้นฟูฯ เข้าซื้อหุ้นทั้งสองครั้ง เป็นมูลค่า 750 ล้านบาท และ 5,400 ล้านบาทตามลำดับ โดยไม่สั่งให้ บีบีซี ลดทุนก่อน ทำให้ต่างชาติขาดความเชื่อมั่น นำไปสู่กระบวนการถอนการลงทุนออกจากประเทศไทย (ปัจจุบันตัวละครเหล่านี้เข้ามามีบทบาทในการวางยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ นายวีรพงษ์ เป็น ประธานแบ๊งก์ชาติ)

“นิพัทธ” เข้าไปมีบทบาทร่วมด้วยในฐานะประธานบอร์ดธนาคารออมสิน โดยให้ธนาคารออมสินเข้าไปร่วมซื้อหุ้นด้วย (ศาลอุทธรณ์ตัดสินให้เขาชดใช้เงินให้ธนาคารออมสิน 534 ล้านบาท คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา) ปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญในขณะนั้นคือ นักการเมืองล้วงลูกแสวงประโยชน์ ส.ส.กลุ่ม 16 ของนายเนวิน ชิดชอบ เข้าไปเกี่ยวข้องในการกู้เงินจากแบ๊งก์บีบีซีจนเกิดหนี้เน่ามหาศาล และผู่้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยขาดธรรมาภิบาล จน วิจิตร ต้องลาออกจากตำแหน่งในเดือน ก.ค.2539


ต่อมาในเดือนกันยายน 2539 สถาบันจัดอันดับ Moody's ปรับลดลดอันดับพันธบัตรระยะสั้นของไทย เป็นเหตุให้ช่วงนั้นบรรดานักเก็งกำไรต่างชาติได้เข้ามาโจมตีค่าเงินหลายครั้ง แต่ยังไม่รุนแรงนัก ขณะที่รัฐบาลบรรหารไร้เสถียรภาพทางการเมืองตลอดการบริหารมีการปรับครม.ถึง 6 ครั้ง ประกอบกับผู้นำอย่างนายบรรหารขาดความตื่นตัวและไร้วิสัยทัศน์ด้านนโยบายทางการเงินการคลังที่สอดคล้องกับยุคโลกาภิวัฒน์ ทำให้มีปัญหาในการวางยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจตามมา

ปัญหาเริ่มรุมเร้าทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ มีการหักหลังทางการเมืองโดยบรรหารใช้วิธีการยุบสภา แทนที่จะลาออกแล้วให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน ตามแรงบีบของพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้น โดยช่วงปลายรัฐบาลนายบรรหาร ในวันที่ 14 สิงหาคม รัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีจากพรรคพลังธรรมลาออกจากตำแหน่งพร้อมกันถึง 5 คน ซึ่งนับเป็นการลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2 ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

แต่แล้วนายบรรหารก็ตัดสินใจประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร มีการเลือกตั้งวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่ตัวละครเดิมที่ทำเศรษฐกิจพังในยุคบรรหารกลับมาอยู่ครบถ้วนในทีมเศรษฐกิจของ พล.อ.ชวลิต คือ พ.ต.ท.ทักษิณ และ วีรพงษ์ รามางกูร

การบริหารของ พล.อ.ชวลิต มิได้แตกต่างไปจากนายบรรหาร คือ การเมืองไร้เสถียรภาพ แก้ปัญหาเศรษฐกิจผิดพลาด ทำให้เศรษฐกิจอ่อนแออย่างมาก แทนที่จะมีการลอยตัวค่าเงินบาทในช่วงที่เงินทุนสำรองระหว่างประเทศยังมีอยู่มาก กลับเลือกลอยตัวค่าเงินบาทในช่วงเงินทุนสำรองระหว่างประเทศแทบจะหมดสิ้น เพราะนำไปปกป้องค่าเงินบาท

การลอยตัวค่าเงินบาทในคราวนั้นทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้กำไรมหาศาลจากความล่มสลายของเศรษฐกิจไทย ซึ่งนายเสนาะ เทียนทองเป็นคนแฉไว้เองว่า

"คนที่เกี่ยวข้องกับการลดค่าเงินบาทในขณะนั้นมี 4 คนคือ พล.อ.ชวลิต , พ.ต.ท.ทักษิณ , นายทนง และนายโภคิน ส่วนจะรู้เห็นกันขนาดไหนผมไม่รู้เขา บอกว่าเขาไม่รู้อันนี้ไม่มีใบเสร็จ แต่ถ้าถามผมว่าผลที่เกิดหลังค่าเงินบาทลอยตัวออกมาอย่างไร มันส่อชัดว่าทักษิณและบริษัทรอดวิกฤติคนเดียว คือผลลัพธ์มันสะท้อนชัดอยู่แล้ว การที่มีคนไปซื้อประกันความเสี่ยง เรื่องค่าเงินบาทเอาไว้มากๆ หรือไปซื้อดอลลาร์เอาไว้มากๆ ก่อนประกาศลอยค่าเงินบาท ก็เหมือนจุดไฟเผาบ้านตัวเองเพื่อเอาเงินประกัน เศรษฐกิจของชาติพังเสียหาย แต่ตัวเองรอดพ้นวิกฤติเพราะได้ประกัน”


ปัญหารัฐบาลบรรหาร-ชวลิต

1 การเมืองไร้เสถียรภาพ

2 นักการเมือง ผู้ว่าแบ๊งค์ชาติ ผู้บริหารสถาบันการเงินขาด ธรรมาภิบาล

3 นักการเมืองแสวงหาประโยชน์จากแบ๊งก์บีบีซีจนเป็นส่วนหนึ่งทำให้ธนาคารดังกล่าวล่มสลาย

4 การแก้ปัญหาแบ๊งก์บีบีซีขาดธรรมาภิบาลเพิ่มทุนโดยไม่ลดทุน

5 สถานะทางการคลังย่ำแย่ เพราะบริหารโดยขาดวินัยการเงินการคลัง

6 เริ่มถูกโจมตีค่าเงินบาท หลังสถาบันจัดอันอับ Moody's ปรับลดลดอันดับพันธบัตรระยะสั้นของไทย

7 ทิ้งปัญหาทุนสำรองระหว่างประเทศและเสถียรภาพสถาบันการเงิน จนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540

8 นำเศรษฐกิจไทยไปเป็นทาสไอเอ็มเอฟ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น