หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ย้อนรอยการเมืองไทยจากยุคปชต.ครึ่งใบสู่ยุคธุระกิจการเมือง ตอนสอง


บรรหาร ศิลปอาชา เจ้าของวลี “เป็นฝ่ายค้านอดอยากปากแห้ง” ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีได้ปีเศษ ท่ามกลางปัญหาการทุจริตและปัญหาทางเศรษฐกิจที่เริ่มรุนแรงขึ้น ก่อนถูกบีบให้ลาออกแต่บรรหารเลือการยุบสภาแทน

พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดม็อบสีลม สถาบันการเงินเจ๊งระเนระนาด ก่อนประกาศลอยตัวค่าเงินบาท และลาออกเพราะวิกฤตต้มยำกุ้ง ทำไทยเป็นทาสไอเอ็มเอฟ โดยขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นรองนายกรัฐมนตรี และ นายเสนาะ เทียนทอง เคยแฉไว้ในหนังสือรู้ทันทักษิณ ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ประโยชน์จากการลอยตัวค่าเงินบาทในคราวนั้นอย่างมหาศาลเพราะรู้ล่วงหน้า เปรียบเสมือนกันเป็นการเผาบ้านตัวเอง

นายชวน หลีกภัย ได้รับเลือกจากสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดกลุ่มงูเห่าที่พลิกขั้วหันมาสนับสนุนนายชวน แทน พล.อ.ชาติชาย รัฐบาลชวนตั้งทีมเศรษฐกิจที่น่าเชื่อถือเพื่อฟื้นฟูความล่มสลายของเศรษฐกิจ ท่ามกลางความยากลำบากของคนไทย โดยบริหารจนนำชาติออกจากห้องไอซียู แต่คนเริ่มเบื่อหน่าย มีกระแสโจมตีจากสื่อมวลชนว่าเป็นเด็กดีของไอเอ็มเอฟ และข้อกล่าวหาเรื่องทุจริตเรื่อง ปรส. (องค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน) ซึ่งมีนายอมเรศ ศิลาอ่อน เป็นประธาน ซึ่งกรณีนี้ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาจำคุกนายอมเรศ ศิลาอ่อน อดีตประธานองค์การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) จำเลยที่ 1 และนายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ อดีตเลขาธิการ ปรส. จำเลยที่ 2 ในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ฟ้องนายอมเรศ กับพวกรวม 6 คน ร่วมกันเป็นจำเลยในความผิดฐานกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11

โดยศาลพิเคราะห์ จากพยานหลักฐานแล้วเห็นว่าจำเลยทั้ง 2 ผิดฐานไม่เรียกเก็บเงินงวดแรกในการขายสินทรัพย์ให้กับบริษัทเอกชนเลห์แมนบราเธอร์ส โฮลดิ้ง อิ้งค์ จำกัดจำนวน 2,304 ล้านบาท ตามหลักเกณฑ์กำหนดที่ไว้ ผิดตาม พรบ.ว่าด้วย ความผิดพนักงานในองค์กรของรัฐ จึงพิพากษาจำคุกจำเลยทั้ง 2 เป็นเวลา 2 ปี ปรับ 2 หมื่นบาท แต่เคยทำคุณให้ประเทศชาติและอายุมากจึงรอลงอาญา 3 ปี ให้คุมประพฤติ 1 ปี เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 55 ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามตลอดการบริหารของนายชวน ได้ฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น จากการเริ่มต้นที่ศูนย์เพราะเงินทุนสำรองหมดประเทศค้าขายกับต่างชาติไม่ได้ จนกระทั่งเศรษฐกิจไทยเริ่มมีความเข้มแข็งมากขึ้น แต่การถูกโจมตีอย่างหนักจากสื่อมวลชนและความเบื่อหน่ายของประชาชน ซึ่งไม่เข้าใจว่า ปรส.เป็นองค์กรที่ไม่ได้อยู่ภายใต้กำกับของรัฐบาลแต่ทำงานอย่างเป็นเอกเทศซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่รัฐบาลพล.อ.ชวลิต เป็นผู้ออก ความผิดของ ปรส.จึงถูกโยนบาปมาที่ ธารินทร์และรัฐบาลชวนกลายเป็น ทำให้เกิดช่องว่างให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตั้งพรรคไทยรักไทย สร้างความหวังใหม่ให้กับประเทศด้วยวิธีการตลาดนำการเมือง จนคนไทยลืมไปเลยว่า

“ที่ไทยต้องเป็นทาสไอเอ็มเอฟ เกิดขึ้นในยุคที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นรองนายกฯ แต่กลับจดจำว่า พ.ต.ท.ทักษิณ คือผู้ปลดแอกไทยออกจากการเป็นทาสของไอเอ็มเอฟ ทั้ง ๆ ที่รัฐบาลซึ่งบริหารจนไทยผ่านพ้นวิกฤตมาได้คือรัฐบาลชวน หลีกภัย” และด้วยการเมืองนำการตลาดประกอบกับนโยบายประชานิยม ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีผลสะเทือนประเทศไทยมาจนถึงทุกวันนี้ สิ่งที่น่าเสียดายคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ก้าวข้ามเส้นแบ่งระหว่างการเป็นทรราชกับรัฐบุรุษไม่ได้ เพราะความโลภอันไม่มีที่สิ้นสุด ใช้มวลชนเป็นเครื่องมือจนเป็นจุดเริ่มต้นความแตกแยกในประเทศไทยที่ร้าวลึกเกินกว่าที่ใครจะคาดคิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น