หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ลอยตัวค่าเงินบาทเศรษฐกิจชาติยับ ธุรกิจทักษิณ รอด ลอยแพปล่อยไทยวิบัติลากไปเป็นทาสไอเอ็มเอฟชิ่งหนี



มีความพยายามที่จะทำให้เกิดความเข้่าใจผิดว่า ต้นตอที่ทำให้เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง คือการเปิดเสรีทางการเงิน หรือ BIBF ในยุคชวน 1 ด้วยการกล่าว หาว่า เปิดเสรีทางการเงินเร็วเกินไปและขาดมาตรการรองรับจนส่งผลต่อเนื่องมาถึงรัฐบาลบรรหาร และพล.อ.ชวลิต จึงขอเรียงลำดับข้อมูลให้เข้าใจความจริงได้ง่ายขึ้นดังนี้ 

1 BIBF มีแนวคิดเปิดมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน แต่เปิดได้จริงในยุคชวน 1

2 การเปิด BIBF ไม่ว่าเป็นรัฐบาลใดก็ต้องทำ เพื่อเปิดให้องค์กรธุรกิจในประเทศเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำจากทั่วโลก ถือเป็นการลดต้นทุนทางการเงิน และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับธุรกิจไทย

3 ในยุคชวน 1 ที่เปิด BIBF ไม่มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เพราะผู้บริหารมีธรรมาภิบาล และแบ๊งค์ชาติไม่ได้รับใช้การเมืองจนเกิดปัญหาวินัยการเงินการคลัง อีกทั้งไม่ได้ประสบปัญหาผู้บริหารสถาบันการเงินทุจริตด้วย เมื่อรัฐบาลชวนหมดวาระลงเศรษฐกิจก็ไม่ได้มีปัญหา

4 ภาวะปัญหาสะสมรุนแรงในยุค บรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อเนื่องมาถึงรัฐบาลชวลิต ยงใจยุทธ เพราะแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ผิดพลาด การขาดธรรมาภิบาลที่ดีของผู้นำ แบ๊งค์ชาติรับใช้การเมือง ปล่อยให้นักการเมืองร่วมกับผู้บริหารสถาบันการเงินเข้าไปแสวงหาประโยชน์จนตอเริ่มโผล่จากกรณีหนี้เน่าของแบ๊งก์บีบีซี ที่มี ส.ส.กลุ่ม 16 ของนายเนวิน ชิดชอบ ซึ่งขณะนั้นเป็นส.ส.สังกัดพรรคชาติไทย เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย

5 การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินหย่อนคุณภาพ ไม่ยึดหลักธรรมาภิบาล เกิดปัญหาภาระหนี้ระยะสั้น ซึ่งออกอาการตั้งแต่สมัยที่นายบรรหารเป็นนายกรัฐมนตรี แต่กลับละเลยที่จะแก้ปัญหาหรืออาจมองไม่เห็นปัญหาเพราะขาดวิสัยทัศน์ทางด้านเศรษฐกิจก็เป็นได้

6 ยุค พล.อ.ชวลิต สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเลวร้ายลง นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ประชาชนขาดความมั่นใจในสถาบันการเงินแห่ถอนเงินฝาก จนเศรษฐกิจไทยอ่อนแออย่างยิ่ง

7 ในยุคดังกล่าวยังตัดสินใจแก้ปัญหาผิดพลาดจนทำให้เศรษฐกิจไทยล่มสลาย เพราะแทนที่จะลอยตัวค่าเงินบาทในช่วงเวลาที่ทุนสำรองระหว่างประเทศยังมีอยู่มาก กลับนำไปปกป้องค่าเงินบาทที่ถูกโจมตี จนเงินทุนสำรองแทบจะหมดเกลี้ยงจนต้องกู้เงินจากไอเอ็มเอฟ

8 ความอ่อนแอของสถาบันการเงินในแต่ละแห่งไม่ได้หนักหนาสาหัสเท่าเทียมกัน แต่รัฐบาลชวลิต ก็แก้ปัญหาผิดทางแทนที่จะเข้าแทรกแซงควบรวมกิจการเพิ่มความเข้มแข็งให้สถาบันการเงิน กลับเลือกประกาศปิดสถาบันการเงินจำนวนมาก จนยิ่งเป็นชนวนให้ความเชื่อมั่นหดหายลามไปถึงธนาคารพาณิชย์ กระทบต่อสภาพคล่องและเศรษฐกิจในภาพรวม

9 ทนง พิทยะ รมว.คลังที่ใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ คือผู้นำไทยสู่การเป็นทาสไอเอ็มเอฟ ผูกมัดเงื่อนไขให้ไทยทำตาม ก่อนรัฐบาลชวนเข้ามาฟื้นฟูประเทศ

10 เงินทุนสำรองช่วงชวลิต เหลือ 8,962 ล้านเหรียญสหรัฐ รัฐบาลชวนฟื้นฟูเศรษฐกิจจนเงินทุนสำรองอยู่ที่ 30,526 ล้านเหรียญสหรัฐ

สิ่งที่น่าสนใจคือในช่วงที่ธุรกิจไทยล้มระเนระนาดแต่ ธุรกิจของ พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่รอดปลอดภัย ในขณะที่เศรษฐกิจชาติใกล้ล่มสลาย แทนที่รัฐบาลชวลิตที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นรองนายกฯ จะรับผิดชอบด้วยการแก้ปัญหาให้ลุล่วงหลังตัดสินใจกู้เงินจากไอเอ็มเอฟ กลับลาออกลอยแพประเทศไทย จ
นรัฐบาลชวน 2 เข้ามารับช่วงต่อในการฟื้นฟูประเทศ

1 ความคิดเห็น:

  1. การเปิดเสรีทางการเงิน โดยที่ไม่มีมาตรการรองรับแถมไม่ยอมเปิดการลอยตัวค่าเงินตั้งแต่แรก ใครอยากกู้ก้กู้ยังไงมันก้ต้องเจ๊งอยู่แล้ว ไม่รุ้ว่าคุณพอจะมีความรู้เรื่องเศรษฐศาสตรบ้างหรือเปล่า

    เรื่องนี้ชวนผิดเต็มๆ ใครๆก็รู้ทั้งนั้น ยังอุตส่าหโยงมาถึงทักษินจนได้นะคนเรา

    ชวลิตมันมาตอนปัญหารุนแรงสะสมเต็มที่แล้ว

    ตอบลบ