หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แม้วร่วมจิ๋วลากไทยเป็นทาสไอเอ็มเอฟ เศรษฐกิจพังพาบน้าชาติ ขอเป็นนายกก่อน 6 เดือน


ในช่วงรอยต่อทางการเมืองหลังจากที่พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคร่วมรัฐบาลเดิมพยายามที่จะจับขั้วเป็นรัฐบาลต่อไป โดยชู พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ซึ่งมีส.ส. 52 เสียง เป็นนายกรัฐมนตรี แต่กระแสสังคมในขณะนั้นสิ้นศรัทธาและขาดความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลเดิมโดยสิ้นเชิง และสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนขั้วรัฐบาลโดยให้พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีส.ส.เป็นอันดับ 2 คือ 123 เสียง เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล

แต่การจัดตั้งรัฐบาลก็มิได้ทำโดยง่าย เพราะการตั้งรัฐบาลขึ้นอยู่กับจำนวนส.ส.ที่ต้องรวบรวมเป็นเสียงข้างมากให้ได้เสียก่อน ซึ่งในห้วงเวลานั้นจะเต็มไปด้วยการต่อรองของแต่ละพรรคการเมือง โดยเฉพาะพรรคขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีบทบาทสำคัญทำให้การจัดตั้งรัฐบาลประสบความสำเร็จ

ที่น่าสนใจและคนไทยจำนวนมากอาจไม่เคยรู้มาก่อนเลยคือ ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อดังกล่าว พล.อ.ชาติชาย ซึ่งมองเกมการเมืองออกว่ากระแสสังคมตอบรับให้มีการเปลี่ยนขั้วรัฐบาลเพื่อให้นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรีมากกว่า ถึงกับมีการเสนอข้อต่อรองในลักษณะสมบัตผลัดกันชม ในยามที่เศรษฐกิจไทยประสบกับความวิบัติ ซึ่งพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ในชณะนั้นมีส่วนสำคัญยิ่งที่ทำให้การจัดตั้งรัฐบาลชวน 2 ประสบความสำเร็จ

“พล.อ.ชาติชาย ส่งคนมาพบผมและเสนอว่าเขาขอเป็นนายกรัฐมนตรีก่อน 6 เดือน จากนั้นค่อยมีการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล แต่ผมไม่ยอมและคิดว่าพรรคมีคะแนนอันดับ 2 เรามีสิทธิตั้งรัฐบาลได้ตามระบบ และเศรษฐกิจไทยขณะนั้นก็แย่มากเกินกว่าจะมาคิดถึงเรื่องการเมือง เราต้องเอาบ้านเมืองให้รอดก่อน นี่คือสิ่งเดียวที่เราคิดในขณะนั้น ถึงได้มีการเรียกว่า ดรีมทีมเศรษฐกิจ แต่ผมก็บอกเสมอว่าเป็น เรียลทีมเศรษฐกิจ คือ มันเป็นความจริงไม่ใช่ความฝัน”

น่าเสียดายที่ในช่วงเวลานั้นผู้เขียนไม่สามารถนำเสนอเรื่องเหล่านี้ต่อสาธารณะได้ เพราะเป็นการคุยนอกรอบกับคุณชวน ที่ให้ข้อมูลแต่ไม่อนุญาตให้เขียนเป็นข่าว มาถึงวันนี้เหตุการณ์ผ่านมา 15 ปีแล้ว ประกอบกับมีการ กล่าวหาว่า คุณชวน ได้เป็นนายกรัฐมนตรีแบบไม่สง่างามเพราะมีกลุ่มงูเห่าแยกตัวออกจากรัฐบาลเดิมไปเติมคะแนนเสียงให้ แต่ความจริงคือ ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินว่า กลุ่มงูเห่าที่ไม่ปฏิบัติตามมติพรรคนั้นเป็นเอกสิทธิของส.ส.ที่จะใช้มติพรรคบังคับมิได้ นั่นย่อมหมายถึงว่าการตัดสินใจเป็นไปโดยอิสระของส.ส.กลุ่มดังกล่าวที่จะเลือกไปร่วมกับพรรคการเมืองใดในการจัดตั้งรัฐบาลก็ได้ ซึ่งเป็นไปตามระบบไม่ใช่เรื่องนอกระบบแต่อย่างใด

ด้วยเหตุที่พรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นคิดแต่เรื่องการเมืองมากกว่าบ้านเมือง จึงเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจในยุคพล.อ.ชวลิต ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นรองนายกรัฐมนตรี ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เนื่องจากขาดความเอาใจใส่ต่อสัญญาณอันตรายจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แสดงอาการออกมา

ดังจะเห็นได้จากเอกสารที่ นร 0205/ว(ล)125 ที่นายนพดล เฮงเจริญ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2540 เรื่อง การรายงานสถานการณ์ทงการเงินการคลัง โดยทำหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี นายทนง พิทยะ รมว.คลัง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย มีเนื้อหา ดังนี้

ด้วยในคราวการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2540 คณะรัฐมนตรีเห็นว่าปัญหาเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้น คณะรัฐมนตรีจำเป็นต้องมีข้อมูลและได้รับรู้ปัญหาที่แท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการเงินการคลัง ซึ่งในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้รับทราบข้อมูลและตัวเลขเรื่องนี้น้อยมาก และโดยที่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในช่วงการชะลอตัวนี้ จะต้องรีบเร่งดำเนินการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยเร็วตามข้อตกลงภายใต้กรอบความร่วมมือของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ คณะรัฐมนตรีควรจะได้รับทราบข้อมูลและผลการดำเนินการในเรื่องนี้ต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ จึงมีมติให้กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รายงานข้อมูลผลการดำเนินงานและสภาพเศรษฐกิจโดยรวม ให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมของการปฏิบัติงานในแต่ละเรื่อง


นี่คือความจริงที่ยืนยันได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครม.พล.อ.ชวลิต คือผู้ลากไทยเป็นทาสไอเอ็มเอฟ ขณะที่รัฐบาลชวน 2 ถูกผูกมัดด้วยเงื่อนไขที่รัฐบาล พล.อ.ชวลิตไปลงนามไว้ ไม่ต่างอะไรจากการเข้ามาบริหารเสมือนถูกมัดมือชก ไม่สามารถเดินออกจากแนวทางที่รัฐบาลชวลิตตกลงไว้กับไอเอ็มเอฟได้ ตลอดช่วงการบริหารจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะการแก้ปัญหาต้องใช้เวลา ทำให้ประชาชนเกิดความเบื่อหน่าย จนเป็นช่องว่างของการก่อกำเนิดพรรคไทยรักไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ใช้การตลาดนำการเมือง ประกอบกับนโยบายประชานิยมหวือหวา จนคนไทยลืมไปเลยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ คือ รองนายกรัฐมนตรีใน ครม.ที่ทำให้เศรษฐกิจไทยพินาศต้องไปเป็นทาสไอเอ็มเอฟ และยังได้รับประโยชน์จากความหายนะของชาติในช่วงลอยตัวค่าเงินบาท เนื่องจากรู้้ข้อมูลเป็นการภายในจาก นายทนง ก่อนลอยตัวค่าเงินบาทวันที่ 2 ก.ค.2540

ซึ่งเจ้าตัวยอมรับในการสัมภาษณ์พิเศษ “ซีรีส์ 15 ปี วิกฤต 2540” ทนง พิท ยะ อดีตรมว.คลัง “ขออภัยที่ทำให้หลายคนเจ็บปวด” ในบางช่วงบางตอนว่า การรับตำแหน่ง รมว.คลังในขณะนั้น เป็นเรื่องบุญคุณต้องทดแทนด้วย

ลิงค์สัมภาษณ์ทนง พิทยะ
http://thaipublica.org/2012/07/series-15-years-of-crisis-1/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น