หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เปิดสายสัมพันธ์ ทนง พิทยะ VS ทักษิณ ชินวัตร ชวนรับไม้ต่อปั๊มเศรษฐกิจไทยออกจากไอซียู



ก่อนที่จะย้อนข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารงานในยุครัฐบาลชวน 2 หลังรับช่วงต่อจากที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากนายกรัฐมนตรี ขอให้รายละเอียดเกี่ยวกับความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่าง นายทนง พิทยะ รมว.คลัง ผู้ประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในวันที่ 2 ก.ค.2540 กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้เกิดความเข้าใจเสียก่อนว่ามีความสนิทแนบแน่นลึกซึ้งเพียงใด จึงทำให้ธุรกิจของ พ.ต.ท.ทักษิณ รอดจากพิษค่าเงินบาท ในขณะที่ธุรกิจอื่นทั่วประเทศล้มกันระเนระนาด

นายทนง เคยทำงานเป็นกรรมการบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นลูกน้อง พ.ต.ท.ทักษิณ และเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาได้รับตำแหน่งสำคัญในยุคที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เรืองอำนาจ อาทิ ประธานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานบอร์ดการบินไทย รมว.พาณิชย์ และ รมว.คลัง จนทำให้เกิดฉายาว่า เป็น “ยาสามัญประจำบ้าน” ของ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ล่าสุดเขาให้สัมภาษณ์กับเว็บไซด์ thaipublica ในตอนหนึ่งว่า “เขาเป็นยาสามัญประจำบ้านที่หมดอายุแล้ว”

ยาสามัญประจำบ้านที่หมดอายุแล้วของ พ.ต.ท.ทักษิณ เกือบทำให้เศรษฐกิจไทยสูญสิ้น โดยทำข้อตกลงกับไอเอ็มเอฟผูกมัดเงื่อนไขที่ไทยต้องปฏิบัติตามที่ไอเอ็มเอฟกำหนดอย่างเข้มงวด จึงเป็นเรื่องตลกร้ายสิ้นดีที่สื่อมวลชนในขณะนั้นโจมตีว่า รัฐบาลชวนเป็นเด็กดีของไอเอ็มเอฟ ทั้งที่ความจริงคือรัฐบาลในขณะนั้นไม่สามารถทำอะไรที่นอกเหนือจากเงื่อนไขไอเอ็มเอฟที่รัฐบาลพล.อ.ชวลิต ไปตกลงเอาไว้ได้ จึงกลายเป็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ทำให้ไทยเป็นทาสไอเอ็มเอฟ ทั้ง ๆ ที่เป็นผู้ปั๊มหัวใจเข็นเเศรษฐกิจไทยออกจากห้องไอซียู โดยในขณะนั้นมี นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็น รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ และนายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ เป็น รมว.คลัง ซึ่งสื่อมวลชนในช่วงดังกล่าวว่าให้ฉายาว่า “ดรีมทีมเศรษฐกิจ”

ปัญหาที่รัฐบาลพล.อ.ชวลิต ทิ้งไว้

1 ทุนสำรองระหว่างประเทศตกต่ำ และปัญหาความเชื่อมั่นต่อค่าเงินบาท
2 ปัญหาความมั่นคงของสถาบันการเงินและกองทุนฟื้นฟูฯ
3 ปัญหาอัตราดอกเบี้ยสูง
4 ปัญหาอัตราเงินเฟ้อสูง
5 ปัญหาการไหลออกของเงินทุนในลักษณะตื่นตระหนกจนขาดสภาพคล่อง
6 ผลกระทบทางสังคมจากวิกฤตเศรษฐกิจ
7 เกิดความไม่มั่นใจในนโยบายและมาตรฐานทางเศรษฐกิจของรัฐบาล

สิ่งที่เห็นชัดเจนว่า รัฐบาลชวน 2 แก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบที่จะชี้ให้เห็นเป็นอันดับแรกคือ ปัญหาอัตราดอกเบี้ยสูง ดังนี้

ปลายปี 39 รัฐบาลชวลิตเพิ่งเข้ามาบริหาร ดอกเบี้ย MRR อยู่ที่ 13.00-14.75%

ปลายปี 40 หลังรัฐบาลชวลิตลาออกแล้ว ดอกเบี้ย MRR อยู่ที่ 15.50-18.00%

ปลายปี 41 หลังประชาธิปัตย์เข้ามาบริหาร 1 ปี ดอกเบี้ย MRR อยู่ที่ 12.00-15.25%

ปลายปี 42 หลังประชาธิปัตย์เข้ามาบริหาร 2 ปี ดอกเบี้ย MRR อยู่ที่ 8.50-10.50%

ปลายปี 43 หลังประชาธิปัตย์เข้ามาบริหาร 3 ปี ดอกเบี้ย MRR อยู่ที่ 8.00-9.50%

ซ่อมบ้านเสียงดังคนรำคาญจนลืมดูความสำเร็จ

ลิงค์สัมภาษณ์ทนง พิทยะ
http://thaipublica.org/2012/07/series-15-years-of-crisis-1/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น