หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิกฤตต้มยำกุ้ง เกียรตินาคิน ของ พงศ์เทพ รอดด้วย ขณะที่หนี้สาธารณะยุคแม้ว 1 พุ่ง 1.1แสนล.มากกว่า ยุคชวน 2 เกือบเท่าตัว แต่ถูกด่าเละ แม้ว กลายเป็นฮีไร



ในวันที่รัฐบาลชวน 2 เข้ามาบริหารประเทศนั้นรัฐบาลชวลิตได้นำเศรษฐกิจไทยเข้าสู่แผนปฏิรูปการเงินการคลังและระบบสถาบันการเงินและการขอความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ ไอเอ็มเอฟ เรียบร้อยแล้ว

สาเหตุที่ไทยต้องกู้เงินจาก IMF เป็นเพราะว่าเงินสำรองระหว่างประเทศต่ำกว่าเกณฑ์เนื่องล้มเหลวในการปกป้องค่าเงินบาทเหลืออยู่เพียงแค่ประมาณ 600 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น คู่ค้าของไทยจึงไม่ยอมรับ L/C จากประเทศไทย จึงจำเป็นต้องกู้เงินจาก IMF 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นการกู้มาเก็บเพื่อให้เกิดหลักประกันว่าไทยมีความสามารถชำระหนี้ให้ต่างประเทศได้ภายในเวลา 3 เดือน เพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากคู่ค้า

ภายใต้การบริหารของรัฐบาลชวนไม่ได้ใช้เงินกู้ทั้งหมดแต่ใช่เพียง 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะการแก้ปัญหาเศรษฐกิจดีกว่าที่ IMF คาดเอาไว้

ขณะที่ ปรส.ซึ่งตกเป็นจำเลยว่ามีการทุจริตนั้น ก็เกิดขึ้นตาม พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 ที่ออกโดยรัฐบาลชวลิต และการประกาศปิดสถาบันการเงิน 58 แห่งก็เกิดจาก ปรส.ชุดที่รัฐบาลชวลิตตั้งขึ้นอีกเช่นเดียวกัน ไม่ใช่สมัยชวน 2 เป็นผู้ปิดสถาบันการเงินเหล่านั้นตามที่มีความพยายามจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด

ที่น่าสนใจคือมีสถาบันการเงิน 2 แห่ง คือ บง.เกียรตินาคินฯ และ บงล.บางกอกอินเวสเมนต์ที่สามารถเปิดดำเนินกิจการใหม่ได้ ส่วนที่เหลือ 56 แห่งถูกนำเข้าสู่กระบวนการขายทรัพย์สินเพื่อชำระบัญชี มาถึงตรงนี้หลายคนคงพอนึกออกว่าไม่ใช่เพียงแค่ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงนั้นแต่ยังพ่วง บง.เกียรตินาคินซึ่งเป็นของภรรยาคือนางพนิดา (วัธนเวคิน) นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ซึ่งในขณะนี้ดำรงตำแหน่งเป็น รองนายกฯและรมว.ศึกษาธิการในรัฐบาลชุดนี้รวมอยู่ด้วย

ในขณะที่บ้านเมืองเผชิญหน้ากับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ คนไทยโหยหาความหวังใหม่ ๆ เพราะเกิดความเบื่อหน่ายในการแก้ปัญหาของรัฐบาลชวน 2 เนื่องจากเห็นว่าเชื่องช้า ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้งไม่ว่าใครเป็นรัฐบาลก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้รวดเร็วแบบพลิกฝ่ามือ ช่องว่างตรงนี้เองที่ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับโดดเด่นขึ้นมาอีกครั้งทางการเมืองด้วยการตั้งพรรคไทยรักไทย ดูใหม่ สด เต็มไปด้วยความหวังและนโยบายประชานิยมที่หวือหวาเป็นที่ตื่นตาตื่นใจของคนทั้งประเทศ จนมองเห็นรัฐบาลชวน 2 ที่กำลังซ่อมบ้านอยู่เป็นเพียงกรรมกรที่ไร้ค่าในสายตาของชาวบ้านทั้งที่ทุ่มเทอย่างหนักในการซ่อมบ้านให้กลับมาเป็นบ้านอีกครั้ง

ประกอบกับการใช้การตลาดนำการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพของ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยมีสื่อเป็นเครื่องมือ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนไทยเข้าใจว่ารัฐบาลชวน 2 บริหารผิดพลาด และลืมไปว่า พ.ต.ท.ทักษิณ คือส่วนหนึ่งของรัฐบาลชวลิตที่ลากไทยไปเป็นทาส IMF โดยมีการโจมตีอย่างหนักเกี่ยวกับการประมูลสินทรัพย์ของ ปรส.ว่าขายให้ต่างชาติมากกว่าคนไทย ท้้งที่ไม่เป็นความจริง เนื่องจากสัดส่วนการขายสินทรัพย์ของปรส.นั้นส่วนใหญ่เป็นผู้ประมูลไทยรวม 55.57% และรายใหญ่ที่สุดคือ บบส. ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่ประมูลสินทรัพย์ไปถึง 197,047 ล้านบาท หรือคิดเป็น 29.08 % ของผู้่ประมูลไทย ส่วนต่างชาตินั้นประมูลสินทรัพย์จาก ปรส.คิดเป็นสัดส่วน 44.43%

แต่คนไทยกลับเข้าใจว่า ปรส.ให้ต่างชาติประมูลแต่ปิดโอกาสนักธุรกิจไทย ซึ่งต้องยอมรับความจริงว่า นสพ.ผู้จัดการคือสื่อที่มุ่งโจมตีในเรื่องนี้มากที่สุดโดยให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน โดยจะได้กล่าวถึงในตอนต่อไป และหลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้เพราะโดนตีจนน่วมระหว่างซ่อมบ้าน สิ่งที่ปรากฏตามมาคือ สนธิ ลิ้มทองกุล ไปจัดรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์” ที่ช่อง 9 และถึงกับเคยยกยอปอปั้นว่า “พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีที่ดีที่สุด” กระทั่งมาแตกคอในเรื่องการตั้งสถานีโทรทัศน์ถึงขั้นแตกหักจึงเกิดการแฉตามมา และนับเป็นคุณูปการส่วนหนึ่งที่คนชื่อ สนธิ ทำให้กับประเทศชาติ คือการฉายภาพความเลวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้สังคมได้เห็นอย่างชัดเจนมากขึ้น

บทสรุปในการบริหารยุคชวน 2 มีหนี้สาธารณะประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ในขณะที่หนี้สาธารณะยุค พ.ต.ท.ทักษิณ 1 ที่โฆษณาชวนเชื่อว่าเป็นผู้ปลดแอกไทยจากการเป็นทาสของไอเอ็มเอฟนั้นหนี้สาธารณะพุ่งไปถึง 1.1 แสนล้านบาท แถมยังเป็นคนปลุกระดมมวลชนเรื่องกฎหมายขายชาติ ทั้งที่รัฐบาลชวลิตเป็นผู้ไปตกลงเงื่อนไขไว้ เมื่อมาเป็นรัฐบาลก็ พ.ต.ท.ทักษิณ นี่แหละที่นำสมบัติของชาติไปขายอย่างกระตือรือร้นทั้ง การบินไทย และ ปตท. มาถึงตรงนี้คงถึงบางอ้อแล้วว่าคนทำชาติเจ๊งและเอาสมบัติชาติไปขายคือ คน ๆ เดียวกันที่ชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น