หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

คิดแบบนักเศรษฐศาสตร์ กรณีทักษิณอ้างว่า "เข่าเป็นผู้ใช้หนี้ IMF"

ความจริง เรื่อง IMF การที่ ทักษิณ ชินวัตร ตัดสินใจใช้หนี้ก่อนถึงกำหนด 2 ปี มีผลดี หรือ ผลเสีย กันแน่ถ้าใช้หลักทางเศรษฐศาสตร์

ในปี 2546 ดอกเบี้ยเงินฝากภายในประเทศเฉลี่ยปีละ 8% ในขณะที่IMF คิดดอกเบี้ยจากเราแค่ 0.25% และอีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ ถ้าจ่ายหนี้ก่อนกำหนด ต้องเสียค่าปรับอีก 2%

ถ้าตอนนั้น เรามีเงิน 4800 ล้านเหรียญ แปลงเป็นเงินไทย อัตราแลกเปลี่ยนตอนนั้น 41 บาทต่อดอลล่าร์ คิดเป็นเงินไทย 196,800 ล้านบาท เอาฝากธนาคารไว้ 2ปี หักภาษีแล้วจะได้ ดอกเบี้ย ประมาณ 28000 ล้านบาท และ เสียดอกเบี้ยให้ IMF 2ปี จำนวน 984 ล้านบาท คงเหลือกำไร กว่า 27000 ล้านบาท

แต่ ทักษิณ เลือกที่จะใช้หนี้ก่อน ผลคือ เราเสียค่าปรับ 2% จำนวน 3936 ล้านบาท ลดดอกเบี้ย 2ปีลงได้ 984 ล้านบาท ถ้าเอาค่าปรับที่เสีย ลบด้วยดอกเบี้ยที่ไม่ต้องจ่าย จะเหลือ ค่าปรับ 2952ล้านบาท

คำถามก็คือ ถ้า ณ.วันนั้น ประเทศเรามีเงินสด 4800 ล้านเหรียญ หรือ 196,800 ล้านบาท เรายังไม่ชำระหนี้ แต่ฝากในธนาคารไว้เราจะได้ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้นฟรีๆประมาณ27000 ล้านบาท แต่ถ้าเราชำระหนี้ก่อนกำหนด เราต้องเสียเงินเพิ่มอีก 2952 ล้านบาท

คำถามก็คือ ประเทศได้อะไร จากการตัดสินใจครั้งนี้ จะว่า เพราะทำให้ประเทศพ้นจากหนี้สิน แต่เมื่อไปดูข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย กลับปรากฏว่า เงินจำนวน4800ล้านเหรียญ ที่ ทักษิณ ชำระหนี้นั้น ส่วนหนึ่ง กลับเป็นเงินกู้จาก เอ ดี บี และเมื่อดูหนี้ สาธารณะของประเทศ ณ.ปี 2546 หลังจากจ่ายเงินคืน IMF หมดแล้ว กลับเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับหนี้สาธารณะช่วงปลายรัฐบาล ชวน2 ส่งไม้ให้กับ รัฐบาล ทักษิณ1 ถึงกว่า4000ล้าน

คำถามที่คาใจจริงๆคือ หนี้สินของประเทศก็ไม่ได้ลดลงจากการใช้หนี้IMF แล้ว ทักษิณ ไปกู้ เอดีบี มาเพื่อใช้หนี้ IMF ทำไม

อีกคำถามหนึ่งคือ ทักษิณ ประกาศให้ชาวบ้านรู้กันทั่วว่า เขาเป็นคนใช้หนี้IMF ทั้งๆ ตอนไปเบิกเงินกู้ก้อนที่1 และก้อนที่2 เขาเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชวลิต และการที่ใช้หนี้ก่อนกำหนด ประเทศต้องเสียค่าปรับตั้ง2%ซึ่งเป็นเงินถึง 3636 ล้านบาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น