หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความขัดแย้งทางการเมืองของไทยในบริบท อุดมการณ์เพื่อแสวงหาอำนาจรัฐ




ถ้าคนทุกคนในประเทศต่างก็ต้องการมีอำนาจรัฐอยู่ในกำมือ ก็คงแย่งชิงกันวุ่นวายไปเสียหมด ดังนั้นแนวทางตามหลักประชาธิปไตยแบบสากลก็เลยให้จัดกลุ่มบุคคลที่แนวคิด อุดมการณ์ที่สอดค้องกันไปรวมตัวกันจัดตั้งเป็น พรรคการเมือง เพื่อเป็นตัวแทนและกลไกของระบอบในการแสวงหาอำนาจรัฐอีกทอดหนึ่ง 

การแสวงหาอำนาจรัฐก็ใช้วิธี การตัดสินของประชาชนทั้งประเทศว่า จะมอบหมายอำนาจรัฐซึ่งเป็นของประชาชนเองให้แก่พรรคการเมืองใด ผ่านทางการเลือกตั้ง เมื่อผลการเลือกตั้งได้สรุปว่าใครได้เสียงมากกว่าผู้นั้นก็จะได้สิทธิรับอำนาจรัฐไป แต่อยู่ดี ๆ แล้วประชาชนจะมอบอำนาจรัฐไปให้พรรคการเมืองใดพรรคกรเมืองหนึ่งเฉย ๆ คงไม่ได้ มันจะต้องมีอะไรสักอย่างที่ทำให้ประชาชนได้พิจารณาว่าควรจะมอบอำนาจรัฐให้แก่พรรคการเมืองใด นั่นคือ นโยบายของพรรคการเมือง ที่มาจากอุดมการณ์ทางการเมืองของแต่ละพรรค

ต่อไปนี้จะพูดถึงเฉพาะอุดมการณ์ทางเมืองของพรรคการเมืองไทย(โดยเฉพาะ 2 พรรคใหญ่) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ เกิดความขัดแย้งในการแสวงหาอำนาจรัฐ

พรรคสังกัดทักษิณ (ปัจจุบันคือพรรคเพื่อไทย) มีอุดมการณ์ทางการเมืองคือ บริหาร-แก้ปัญหาประเทศในเวลารวดเร็ว ยืดหยุ่นจนถึงขั้นไม่ยึดถือตามหลักการ(นิติรัฐ-นิติธรรม) เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาในแต่ละเรื่องโดยใช้เวลาน้อยที่สุด เมื่อไม่ยึดถือเรื่องนิติรัฐ-นิติธรรม กฎหมายบ้านเมืองก็ไม่ศักดิ์สิทธิ์ ทำให้คนชอบละเมิดกฎหมาย พอกฎหมายใดไม่เอื้อประโยชน์ให้ตนและพวกตน ก็ทำการแก้ไขเพื่อให้การละเมิดกฎหมายเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย แต่กฎหมายทุกฉบับจะถูกประกาศใช้โดยมีการลงพระปรมาภิไธยจากในหลวงเสียก่อน ทำให้มองว่าพรรคสังกัดทักษิณไม่ค่อยให้ความสำคัญกับสถาบันพระมหากษัตริย์

พรรคประชาธิปัตย์ มีอุดมการณ์ทางการเมืองคือ บริหาร-แก้ปัญหาประเทศมองผลในระยะยาวเพื่ออนาคตที่ดีกว่า และยึดมั่นต่อหลักการ(นิติรัฐ-นิติธรรม) และยึดถือแนวทางตามพระบรมราโชวาทที่พระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ ใครทำผิดกฎหมายก็ถูกลงโทษตามตัวกฎหมายไม่มีข้อยกเว้นและไม่ต้องแก้กฎหมายให้ใครพ้นผิด คนที่ถูกลงโทษตามกฎหมายส่วนใหญ่จึงไม่ชอบอุดมการณ์แบบนี้ จึงหันไปพึ่งอุดมการณ์ที่ต่างจากประชาธิปัตย์ เพราะจะช่วยให้ตัวเองพ้นผิดได้ จึงไม่ควรแปลกใจว่าทำไม นับวับมีคนให้การสนับสนุนพรรคสังกัดทักษิณมากขึ้นเรื่อย ๆ แบบก้าวกระโดด แต่คะแนเสียงของพรรคประธิปัตย์เองก็มิได้หมายความจะลดหรือหดหายไป เพียงแต่จะค่อย ๆ ดีขึ้นครั้งละนิดหน่อยไม่เกิน 10% พรรคการเมืองเล็ก ๆ อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ 2 พรรคนี้ค่อย ๆ เล็กลงตามสัดส่วน(ถ้าประเทศยังมีการปกครองในระบอบนี้ต่อไปอีกหน่อยก็คงสูญพันธุ์) 

ยังมีคนไทยที่ไม่เห็นด้วยกับอุดมการณ์ทางการเมืองของทั้ง 2 พรรคการเมืองนี้อยู่ส่วนหนึ่ง ซึ่งจะพูดว่า เห็นด้วยกับอุดมการณ์ของพรรคสังกัดทักษิณครึ่งหนึ่งแต่อีกครึ่งหนึ่งไม่เห็นด้วย และชอบอุดมการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ในส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับพรรคสังกัดทักษิณ เช่น ชอบวิธีการบริหารแบบรวดเร็วโดยไม่ต้องคำนึงถึงหลักการของพรรคสังกัดทักษิณ แต่ไม่ชอบพรรคสังกัดทักษิณตรงที่ไม่ให้ความสำคัญกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ในขณะเดียวกันก็ไม่ชอบพรรคประชาธิปัตย์ตรงที่ บริหารงานช้าเพราะมุ่งเน้นเรื่องหลักการ แต่ชอบอุดมการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ให้ความสำคัญกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนหน้านี้คนกลุ่มนี้เคยให้การสนับสนุนพรคการเมืองใหญ่ทั้ง 2 พรรคมาแล้ว พรรคละครั้ง แต่ผลที่ออกมาไม่ได้ดั่งใจคนกลุ่มนี้ แถมยังผิดใจกันจนแทบมองกันไม่ได้มาแล้ว  คนกลุ่มนี้จึงพยายามจะสร้างอุดมการณ์ของตัวเองเป็นจุดขายเพื่อนำไปแข่งกับ 2 พรรคใหญ่ข้างบน เพื่อแสวงหาอำนาจรัฐกับเขาเช่นกัน  แต่ในทางปฏิบัติมันทำไม่ได้

มีพระบรมราโชวาทของในหลวงอยู่ครั้งหนึ่งที่ทรงพระราชทานว่า

“...ในการพัฒนาประเทศนั้นจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น เริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน คือ ความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน  ด้วยวิธีการที่ประหยัดระมัดระวัง    แต่ถูกต้องตามหลักวิชา  เมื่อพื้นฐานเกิดขึ้นมั่นคงพอสมควรแล้ว  จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญขั้นที่สูงขึ้นตามลำดับต่อไป
...การถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญ ให้ค่อยเป็นไปตามลำดับด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลวและเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์...”

ผมขออนุญาติทุกท่านสรุปพระบรมราโชวาทที่อันเชิญมานี้ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าและที่จะนำไปดำเนินต่อในบทความนี้ต่อไปดังนี้ครับ

"ในการพัฒนาทุก ๆ อย่าง ต้องค่อย ๆ ทำ เพื่อความมั่นคงยั่งยืนและเป็นเครื่องการันตีว่าสิ่งที่กำลังพัฒนาอยู่นั้นต้องสำเร็จแน่ ๆ ต้องใจเย็นและอดทน"

จะว่าไปแล้วพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่น่าสงสาร เพราะอุดมการณ์ที่ให้ความสำคัญกับสถาบันพระมหากษัตริย์นี่แหละ จะเห็นได้ในหลายเรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์มุ่งคำนึงถึงเรื่องความมั่นคงของประเทศในระยะยาว เช่น ด้านการเกษตรกรรม ด้านการปฏิรูปที่ดินเพื่อสร้างความเสมอภาค ด้านความมีวินัยทางการเงินการคลังของคนในชาติ ทำให้ผลสัมฤทธิ์มักไปปรากฎในช่วงรัฐบาลหลังเป็นประจำ ทำให้พรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งในรอบถัดไปอยู่เสมอ

ถามว่าคนกลุ่มหลังนี้เขารังเกียจอะไรพรรคประชาธิปัตย์หรือครับ ทั้งที่แท้จริงแล้ว อุดมการณ์ของพวกเขาไม่มีทางที่จะเป็นจริงได้ตามแนวทางในพระบรมราโชวาททั้งในชาตินี้และชาติไหน กลับสอดคล้องกับพรรคประชาธิปัติย์อย่างชัดเจน แล้วทำไม ทำไมยังไปหลงชอบอะไรที่มันสำเร็จในเวลาที่รวดเร็วแต่ไร้ประสิทธิภาพแล้วมานั่งด่าคนที่ทำอย่างที่เห็นกันอยู่ เขาทำเพื่ออะไร บ้าหรือเปล่า?

คำตอบก็คือ พวกเขาไม่ได้บ้า แต่รายละเอียดของคำตอบที่แท้จริงอยู่ในบทความก่อนหน้านี้ครับ เชิญทุกท่านค้นหาคำตอบเหล่านั้นจากบทความดังกล่าวได้เลยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น