หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทักษิณ ไม่ใช่ผู้ล้างหนี้ แต่ก่อหนี้ประเทศเพิ่มหนี้ ปชช. ยิ่งลักษณ์ สานต่อกู้เงินมือเติบปีเดียวสร้างหนี้ 1.4 ล้านล้านบาท




ตลอดเวลาที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีไม่เคยให้ความเคารพต่อระบบรัฐสภา และเป็นนายกรัฐมนตรีี่ที่ไม่เคยถูกยืนญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะบริหารดีจนฝ่ายค้านหาข้อมูลมาเปิดโปงไม่ได้ แต่เป็นเพราะ รธน.ปี 40 กำหนดเสียงการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีว่าต้องใช้ส.ส.ไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ หรือประมาณ 200 เสียงขึ้นไป จึงทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ หลีกเลี่ยงการตรวจสอบโดยการควบรวมพรรคการเมืองให้ได้เสียงมากที่สุด จนฝ่ายค้านมีเสียงไม่พอที่จะตรวจสอบนายกรัฐมนตรี

ที่น่าสนใจคือพฤติกรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เคารพระบบรัฐสภาเฉพาะปากแต่พฤติกรรมตรงกันข้ามกับคำพูด ใช้สภาเป็นเพียงแค่ฝ่ายกฎหมายให้ตระกูลชินในการออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจเป็นส่วนใหญ่ โดยตลอดการเป็นนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าสภาเพียง 12 ครั้ง และไม่เคยตอบกระทู้สดของฝ่ายค้ายเลยแม้แต่ครั้งเดียว แทบจะไม่แตกต่างจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เข้าสภานับครั้งได้ และเคยตอบกระทู้สดของฝ่ายค้านเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น เนื่องจากเป็นกระทู้สดที่ต้องตอบด้วยตัวเองหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในกรณีแต่งตั้ง นางนลินี ทวีสิน ซึ่งถูกห้ามทำธุรกรรมทางการเงินกับสหรัฐเป็น รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 

พฤตืกรรมของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังหนีสภาไปว.5 ที่โฟร์ซีซั่นในวันเดียวกับที่สภาล่มเพราะองค์ประชุมไม่ครบทั้งที่รัฐบาลมีเสียงส.ส.จำนวนมาก และยังเกิดสภาพหวิดล่มอีกหลายครั้งแต่ประธานชิงปิดการประชุมหนีไปเสียก่อน
นอกจากการตรวจสอบการบริหารบ้านเมืองจะทำได้ยากแล้ว แม้แต่การตรวจสอบการใช้จ่ายของรัฐบาลก็ทำได้ยากยิ่งไม่แพ้กัน เพราะรัฐบาลทักษิณใช่้วิธีซุกหนี้ไว้กับธนาคารของรัฐ ไม่ต่างจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เพียงแต่ปัญหาการขาดสภาพคล่องของธนาคารรัฐไม่เคยปรากฏให้เห็นในยุคทักษิณ แต่ปรากฏชัดเจนกับ ธกส.จนถึงขั้นต้องขอเพิ่มทุน และไม่มีเงินจ่ายชาวนา อีกทั้งการสำรวจล่าสุดยังพบว่าชาวนาเป็นหนี้เพิ่มถึงครัวเรือนละกว่า 1 แสนบาทด้วย

ทั้งนี้ถ้ารวมตัวเลขหนี้รัฐบาลทักษิณจากนโยบายประชานิยมผ่านกองทุนต่าง ๆ ซึ่งไม่ต้องผ่านการอนุมัติจากสภาอาจมีมูลค่าสูงถึง 5-6 แสนล้านบาท เท่ากับว่าหนี้สาธารณะต่อ GDP ในยุคทักษิณของจริงจะสูงถึงร้อยละ 49-50 ที่สำคัญคือรัฐบาลทักษิณยังหลบหนีการตรวจสอบเรื่องฐานะทางการคลังของรัฐบาลที่เคยให้ประชาชนเข้าไปตรวจสอบข้อมูลได้ผ่านเว็บไซด์ของกระทรวงการคลัง โดยไม่มีการเคลื่อนไหวของข้อมูลอีกเลยหลังจากปี 2548 ทำให้ไม่มีใครรู้สภาพที่แท้จริงทางการคลังของประเทศว่าเป็นอย่างไรในปี 2549 

นอกจากนี้รัฐบาลทักษิณที่อ้างว่าเป็นผู้ล้างหนี้ให้ประเทศนั้นแท้จริงแล้วได้ก่อหนี้ให้กับประเทศอย่างมหาศาลถึง 1.3 ล้านล้านบาท และมีแผนกู้เงินทำเมกะโปรเจค 1.7 ล้านล้าน ซึ่งจะต้องกู้เงินถึง 7 แสนล้านบาท โดยกำหนดแผนการกู้เงินแบ่งเป็นในประเทศ 4 แสนล้านและต่างประเทศอีก 3 แสนล้านบาท ที่สำคัญคือมีการออก พ.ร.ก.กู้เงินถึง 7.8 แสนล้านบาท มากกว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์ที่เข้ามาบริหารประเทศในช่วงวิกฤตซ้อนวิกฤาทั้งเศรษฐกิจและการเมือง โดยรัฐบาลในขณะนั้้นออก พ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้าน และยกเลิกการออก พ.ร.บ.เงินกู้อีก 4 แสนล้าน เมื่อพบว่าไม่มีความจำเป็นเพราะสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็งได้ในระดับหนึ่งแล้ว

การบริหารและวิธีคิดด้านการใช้เงินของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในปัจจุบันก็มิได้แตกต่างไปจากรัฐบาลทักษิณเลยแม้แต่น้อย โดยมีการซุกหนี้ตามธนาคารรัฐ และที่สำคัญคือจงใจโยกหนี้ 1.14 ล้านบาทออกจากงบประมาณไปเป็นความรับผิดชอบของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อลดจำนวนหนี้ในงบประมาณลงเปิดทางให้กู้เพิ่มได้มากขึ้น และยังมีการหลอกตัวเลขหนี้ต่องบประมาณจาก 9%เป็น 12% เพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการโอนหนี้ดังกล่าวไปที่ ธปท.ด้วย นอกจากนี้ภายใต้การบริหารงานเพียงปีเศษ รัฐบาลชุดนี้กู้เงินแล้วไม่ต่ำกว่า ล้านล้านบาท ประกอบด้วย พ.ร.ก.เงินกู้ 3.5 แสนล้าน พ.ร.ก.กองทุนประกันภัย 5 หมื่นล้าน ฯลฯ โดยหนี้สาธารณะล่าสุดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 สูงถึง 44.19% ต่อ GDP เพิ่มจากปี 2554 ถึง 1.92% และยังมีแผนก่อหนี้เพิ่มอีก 2.2 ล้านล้านบาทด้วย

ที่น่าจับตาอย่างใกล้ชิดคือกรณีที่ ยิ่งลักษณ์สั่งให้สำรวจทรัพย์สินและประเมินราคาเพื่อใช้เป็น “มูลค่าทรัพย์สินของทางราชการ” นำไปเป็นหลักประกันในการกู้เงินจากต่างชาติ เนื่องจากในปัจจุบันหนี้รัฐบาลหรือหนี้ที่รัฐวิสาหกิจไปกู้โดยรัฐบาลค้ำประกันเริ่มติดเพดาน จึงกล้าคิดถึงขนาดเอา “ประเทศมาตีราคาเป็นสินทรัพย์” ซึ่งแทบจะไม่ต่างอะไรกับการเอาประเทศไปจำนำหรือค้ำประกันการกู้เงินของรัฐบาลจนหนี้ท่วมประเทศเพื่อมาต่อยอดประชานิยมซื้อเสียงคนไทยบนความหายนะของประเทศ

ยุคปูก่อวิกฤตหนี้เตรียมลากประเทศค้ำประกันเงินกู้ !

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น